เหนื่อย เพลีย ไม่มีแรง (Chronic Fatigue Syndrome : CFS)
ผู้ที่มีอาการเหนื่อย เพลีย ไปโรงพยาบาลตรวจเชคสุขภาพก็ไม่เจอความผิดปกติ อาจจะเนื่องจากสาเหตุของกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง
CFS คืออะไร
CFS คือกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรังจนไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติอาการอ่อนเพลีย หมดแรง หมดพลังในการดำเนินชีวิตนี้ อาจจะค่อยๆมีอาการ หรือเกิดขึ้นทันทีทันใด ก็ได้
สาเหตุ
ทางการแพทย์ไม่พบสาเหตุแน่ชัด สาเหตุที่อาจจะเกี่ยวเนื่อง เช่น เกิดขึ้นหลังการติดเชื้อเช่นเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Immune System) ระบบประสาท ต่อมไร้ท่อ พันธุกรรมอาการ การวินิจฉัยว่าเป็น CSF คือมีอาการอ่อนเพลีย หรือหมดแรง นอนพักก็ไม่ดีขึ้น นานอย่างน้อย 6 เดือน ร่วมกับอาการอื่นๆอย่างน้อย 4 อาการดังต่อไปนี้
- หลงลืมง่าย ความจำลดลง ขาดสมาธิในการทำงาน
- เจ็บคอ
- เป็นไข้ ไม่สบาย
- ต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณลำคอ รักแร้ มีการกดเจ็บ
- ปวดตามกล้ามเนื้อ
- ปวดตามข้อ โดยไม่มีอาการของการอักเสบของข้อ
- ปวดศีรษะ ซึ่งแตกต่างไปจากอาการปวดศีรษะที่เคยเป็นมาก่อน
- ไม่รู้สึกสดชื่นหลังตื่นนอนตอนเช้า แม้จะนอนหลับดี หรือ อาจจะเนื่องจากนอนหลับไม่สนิท
- รู้สึกเพลีย หมดแรง นานกว่าปกติ หลังมีกิจกรรมทางกาย หรือออกกำลังกาย อาการอื่นๆที่พบได้ เช่น มึนศีรษะ เวียนศีรษะ ซึมเศร้า
การวินิจฉัย
CFS วินิจฉัยจากอาการ แต่แพทย์จะสั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุที่เกี่ยวเนื่อง เช่นการตรวจเลือด ปัสสาวะ เอกซเรย์ เป็นต้น สำหรับการรักษาแบบการแพทย์ผสมผสานอาจจะต้องมีการตรวจพิเศษเพิ่มเติมในเชิงลึก เช่นตรวจการแพ้อาหารแบบแฝง ตรวจสารโลหะหนัก ตรวจหน้าที่การทำงานของระบบทางเดินอาหาร (Functional test) เป็นต้น
การรักษาโดยทั่วไป
การรักษาโดยทั่วไปจะรักษาตามอาการเพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น เช่น ให้ยาระงับอาการปวด หรือช่วยให้หลับดีขึ้นการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และค่อยๆเริ่มออกกำลังกายที่ละน้อย ไม่ออกหนักหรือหักโหม แต่ใช้หลักค่อยๆเพิ่มเวลาในการออกกำลังกายหรือออกกำลังกายแบบแผนตะวันออก เช่น ไท้เก๊ก ชีกง โยคะจะช่วยให้อาการเหนื่อยดีขึ้น
การรักษาแบบการแพทย์ผสมผสาน
การแพทย์ผสมผสานจะเน้นการกระตุ้นให้ร่างกายกลับสู่สมดุลและเชื่อว่าหลังจากกลับสู่ภาวะสมดุลแล้วร่างกายจะค่อยๆเยียวยาตนเองจนกลับสู่สภาพปกติในที่สุด การรักษาดังกล่าวจะเป็นการรักษาเฉพาะราย ตามการวินิจฉัย
- ทำกายภาพบำบัดด้วยเครื่องมือทางไฟฟ้า จัดโปรแกรมการออกกำลังกายเฉพาะบุคคล
- การนวดเพื่อการรักษา
- ฝังเข็ม ลดปวด ปรับสมดุลย์
- การบำบัดด้วยการให้วิตามินทางน้ำเกลือ /คีเลชั่น
- การปรับสมดุลฮอร์โมน
- การบำบัดด้วยออกซิเจนแรงดันสูง
- Inner Balance Training ฝึกลดความเครียด