fbpx

ร่างกายคุณพร้อมหรือไม่ กับภัย PM2.5? - Arun Health Garden

โดย นพ.ภาณุวัฒน์  พุทธเจริญ

AHG Integrative Medicine


 

 

 

 

 

 

ขอข้ามในส่วนที่ว่า PM 2.5 คืออะไรมาจากไหนนะครับ อันนี้มีข้อมูลแพร่หลาย ที่จะสรุปให้ฟังคือ

 

ทำไมผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมสาธารณสุขถึงให้ความสำคัญมากนักกับฝุ่นเล็กๆนี่

 

1. PM 2.5 มีอะไรซ่อนอยู่?

เนื่องจากไม่ได้มีแค่ฝุ่นให้เกิดอาการระคายเคืองเท่านั้น แต่ PM 2.5 เหมือนเป็นที่

ลำเลียงสารพิษประเภทอื่นๆ ในบรรยากาศด้วย โดยเฉพาะพวกโลหะหนักที่เป็นพิษต่อร่างกาย มีการตรวจสารพิษ

Arsenic, Cadmium, Nickel, Aluminium สูงเกิน มาตรฐาน ซึ่งแตกต่างกันไปตามพื้นที่ นอกจากนี้ ยังมีสารประกอบ PAHs (Polycyclic aromatic hydrocarbon) ซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์และเป็นสารก่อมะเร็งที่น่าตกใจ คือ มีการตรวจพบสารพิษจากแบคทีเรีย (Endotoxin) ซึ่งกระตุ้นกระบวนการอักเสบแบบซับซ้อนในร่างกาย สามารถ

กระตุ้นระบบภูมิต้านทานให้ทำงานผิดปกติได้ยังมีการ พบสารประกอบอนินทรีย์อื่นๆอีก ซึ่งยังไม่ทราบผลในระยะยาวต่อสุขภาพ

 

2. กลไกการตอบสนองของร่างกายมีอะไรบ้าง?

จากการศึกษาในห้องทดลอง พบว่าpm 2.5 เป็นพิษต่อเซลล์

ร่างกายมนุษย์ (Cytotoxicity) โดยพบทำให้เกิดการอักเสบเกิดปฏิกิริยาอนุมูลอิสระ ลดอัตราการรอดชีวิตของเซลล์

หลังแบ่งตัว (Decrease cell viability) และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในลักษณะกลายพันธุ์ โดยมีผลต่อสารพันธุกรรม

 

3. ผลต่อสุขภาพระยะสั้น และ ระยะยาวคืออะไร?

ดังนั้น ในพฤติกรรมของฝุ่นซึ่งเหมือนเป็นตัวลำเลียงสารพิษหลายชนิดซึ่งมีความสามารถแทรกซึมเข้าระบบร่างกายได้ดีเพราะมีขนาดเล็ก จึงมีผลต่อร่างกายทั้งระยะสั้นและระยะยาว ดังนี้

• อาการระคายเคือง กระตุ้นภูมิแพ้จากการก่อกวนระบบภูมิต้านทานติดเชื้อทางเดินหายใจง่ายขึ้น
• อาการและภาวะที่เกิดจากพิษโลหะหนักที่สะสมในร่างกาย ได้แก่ อาการเสื่อมในระบบประสาท อัลไซมเมอร์ พาร์คินสันอาการสมองเสื่อม
• การกำเริบของ Neuropsychiatric disorder โรควิตกกังวล ซึมเศร้า
• Neuro-developmental disorder ได้แก่ กลุ่ม Autistic spectrum disorder
• Immune dysregulation ภาวะภูมิต้านทานทำงานผิดปกติได้แก่กลุ่มโรคภูมิแพ้ตัวเอง เช่น SLE, Rhumatoid ผ่านกลไกกระตุ้นด้วย สารพิษendotoxinของแบคทีเรียและ โลหะหนัก
• Cardiovascular conditions งานวิจัยพบ pm 2.5 สัมพันธ์กับการอักเสบในหลอด เลือดทำให้ความดันโลหิตควบคุมได้ยากขึ้นและเป็นอันตรายอย่างยิ่งกับผู้ป่ วยโรคหัวใจขาด เลือดโดยพบว่าpm2.5 ททำให้ตะกอนในหลอดเลือดเกิดภาวะไม่เสถียร และมีอาการกำเริบได้
• มะเร็งชนิดต่างๆ ซึ่งขึ้นกับว่า ร่างกายมีการตกค้างของสารชนิดใด และ ยาวนานพอที่จะททำให้ เซลล์มีการกลายพันธุ์ หรือไม่

 

4. การดูแลรักษาทำอย่างไร?

 

การป้องกันโดยเฝ้าระวังคุณภาพอากาศและใส่หน้ากากป้องกันตามคำแนะนำ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ส่วนการดูแลรักษาเชิงป้องกัน ควรมีการปรึกษาแพทย์เพื่อประเสี่ยงมินความตรวจสุขภาพเชิงป้องกัน โดยพิจารณาดูตามกลไกก่อโรคของpm 2.5 ได้แก่

 

• การตรวจวัดระดับอนุมูลอิสระ และ สารต้านอนุมูลอิสระ ว่ายังรักษาสมดุลได้ดีอยู่หรือไม่
• การตรวจประเมินการตอบสนองของระบบอวัยวะต่างๆ ด้วยเครื่องBiofeedback
• การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อดูอัตราการเสื่อมของเซลล์ร่างกายความไวของเซลล์ในระบบภูมิต้านทาน
• การตรวจประเมินการสะสมสารพิษโลหะหนักและความสามารถของร่างกายในการขับทิ้ง
• การทำคีเลชั่น ล้างพิษโลหะหนัก ตามข้อบ่งชี้
• การรักษาด้วยการให้วิตามินบำบัด โดยการรับประทาน หรือ การให้ทางหลอดเลือด
• การบำบัดด้วยออกซิเจนแรงดันสูง เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้เซลล์ และลดการอักเสบ
• การปรับสมดุลภูมิต้านทาน ด้วยการวางแผนโภชนากาซึ่งอาศัยการตรวจภาวะไวต่ออาหาร

 

เอกสารอ้างอิง

Mark F.McCarty,James J.DiNicolantonio. Nutraceuticals have potential for boosting the

type1 interferon response to RNA viruses including influenza and coronavirus. Progress in Cardiovascular Diseases.2020

หมวดหมู่

คลังเก็บ