fbpx

เบาหวานประเภทที่ 3 = อัลไซเมอร์ - Arun Health Garden

เบาหวาน เป็นโรคที่มีความผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งผลิตจากตับอ่อน

และเกี่ยวเนื่องกับการในนำนำ้ตาลไปใช้ทำให้นำ้ตาลในเลือดสูงกว่าปกติ

 

 

ปัญหาของเบาหวานจากการที่นำ้ตาลในเลือดสูง จะมีผลต่อการเกิดความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆอีกมากมายในระยะยาว เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ จอประสาทตาเสื่อม ไตวาย ปลายประสาทเสื่อม ชาตามปลายมือปลายเท้า และ สมองเสื่อม

 

เบาหวานมีหลายประเภท ที่รู้จักกันดีคือ เบาหวานประเภทที่ 1 ซึ่งมักเป็นตั้งแต่เด็ก มีการขาดอินซูลิน เนื่องจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลาย และเบาหวานประเภทที่ 2 ซึ่งพบได้เป็นส่วนใหญ่ของเบาหวาน เกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน สาเหตุมักเกิดจาก lifestyle ที่ไม่เหมาะสม แต่เราอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับ เบาหวานประเภทที่ 3 ซึ่งได้มีการเปรียบเทียบว่าคือ อัลไซเมอร์ ชนิดหนึ่งนั้นเอง

 


 

สมองเสื่อม ……มาพร้อมกับเบาหวาน

 

อัลไซเมอร์ เป็นหนึ่งในโรคสมองเสื่อม

สมองเสื่อมหรือโรคสมองเสื่อม ภาษาอังกฤษคือ Dementia คือ ภาวะการถดถอยของสมองในการทำหน้าที่ต่างๆ สำหรับอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดของสมองเสื่อม คือประมาณ 60-70% ของคนไข้สมองเสื่อม เป็นอัลไซเมอร์ 

คนไข้เบาหวานกว่าร้อยละ 50  มีโอกาสเป็นอัลไซเมอร์และสมองเสื่อมประเภทใดประเภทหนึ่ง จากงานวิจัยทางการแพทย์พบว่า มีความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างเบาหวานและอัลไซเมอร์ เช่น ภาวะดื้ออินซูลิน การอักเสบและอนุมูลอิสระที่สูง ความผิดปกติของไมโตคอนเดรีย เป็นต้น ความคล้ายคลึงเกี่ยวข้องในระดับโมเลกุลนี้ จึงได้มีการเสนอว่า อัลไซเมอร์ เป็นเบาหวานประเภทที่ 3 

เบาหวานประเภทที่ 3 นี้ นอกจากจะมีน้ำตาลในเลือดสูงแล้วจะมีอาการคล้ายคลึงกับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ เช่น หลงลืม มีปัญหาในการตัดสินใจ หรือเลือกใช้คำพูด ปัญหาอารมณ์และบุคลิกภาพที่เปลี่ยนไป 

แม้ว่าจะไม่ได้เป็นที่รู้จักเหมือนเบาหวานประเภทที่ 1และ 2 แต่เบาหวานประเภทที่ 3 นี้บอกให้เรารู้ว่า การป้องกันเบาหวาน และภาวะดื้ออินซูลิน มีส่วนช่วยในการป้องกันอัลไซเมอร์ได้

 


 

เบาหวานประเภทที่ 3 ป้องกันได้ ถ้า lifestyle ดี

 

ภาวะดื้ออินซูลินมีผลเสียต่อสมอง คุณหมอ Dale Bredesen แพทย์ที่ศึกษาเรื่องการรักษาอัลไซเมอร์แบบใหม่ ได้แบ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอัลไซเมอร์ที่พบบ่อยเป็น 4 ประเภท และ หนึ่งในนั้นคือ สาเหตุที่เนื่องมาจากเบาหวานหรือภาวะดื้ออินซูลิน

 

คุณหมอ Dale ได้ให้แนวทางในการปรับไลฟสไตล์ เพื่อห่างไกลอัลไซเมอร์ ดังนี้

 

• ลดนำ้ตาลและแป้ง ทั้งนี้พบว่านำ้ตาลและคาร์โบไฮเดรตแบบเชิงเดี่ยวมีผลต่อการดื้อของฮอร์โมนอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนคุมนำ้ตาลและการเกิดการอักเสบในร่างกาย และสมองได้ ให้เลือกรับประทานอาหารแบบค่าดัชนีไกลซีมิกตำ่และอาหารต้านการอักเสบ

 

• ให้มีช่วงท้องว่างจากการรับประทานอาหารหรือ fasting 12 ชั่วโมงในช่วงกลางคืน และ รับประทานมื้อเย็นก่อนเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง ซึ่งเป็นผลดีต่อฮอร์โมนอินซูลินในร่างกาย และช่วยลดโปรตีนเบต้าแอมีลอยด์ที่สะสมในสมอง ซึ่งเป็นพยาธิสภาพผิดปกติของสมองที่ตรวจพบในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ และช่วยกระตุ้นการซ่อมแซมและกำจัดเซลล์ไม่ดีของตัวเอง (autophagy)

 

• ออกกำลังกายสม่ำเสมอทั้งแบบแอโรบิกและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

 

• ฝึกออกกำลังกายสมอง โดยเฉพาะในส่วนที่ตนเองไม่ถนัด เช่น ฝึกคิดเลข เล่นเกมฝึกสมอง ฟังเพลง เล่นดนตรี เรียนภาษาใหม่ๆ เป็นต้น

 

• นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทำใจให้สบาย ไม่เครียด

 

Lifestyle ที่ดีช่วยควบคุมระดับนำ้ตาลในเลือดไม่ให้สูงและปกป้องสมองได้ จะได้ห่างไกล เบาหวานประเภทที่ 3 ที่ถ้าไม่ป้องกันเสียแต่เนิ่นอาจจะเป็นโรคใหม่ที่ไม่ไกลตัวเลย

 


เอกสารอ้างอิง

Ramesk Kandimalla1, et al. Is Alzheimer’s disease a Type 3 Diabetes? A Critical Appraisal. BiochimBiophysActa. 2017 May ; 1863(5): 1078–1089.

Dale Bredesen. Reversal of cognitive decline: a novel therapeutic program. Aging  2014 Sep;6(9):707-17.

 


 

สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก ยินดีให้คำปรึกษาและพร้อมแนะนำโปรแกรมที่เหมาะสมให้แก่คุณ

LINE Official : @arunhealthgarden https://lin.ee/kVkb3zA

โทร : 02-717-4441 หรือ 094-812-7722

www.arunhealthgarden.com

Facebook : Facebook.com/arunhealthgarden

Instagram : https://www.instagram.com/arunhealthgarden/

เปิดบริการวันอังคาร – อาทิตย์

เวลา 09:00 – 18:00

ที่อยู่ : 54/1 ซอยธารารมณ์4 ถนนรามคำแหง9 แขวงพลับพลาเขตวังทองหลางกรุงเทพฯ 10310

หมวดหมู่

คลังเก็บ