fbpx

APOE กับ การใช้พลังงานจากสารอาหารที่แตกต่างกัน - Arun Health Garden

APOE  คืออะไร? เกี่ยวข้องกับโภชนาการอย่างไร?

Apolipoprotein E หรือ APOE เป็นโปรตีนที่มีความสำคัญในการเผาผลาญไขมัน มีความสำคัญต่อระบบประสาท และโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท โดย APOE เป็นโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ Lipoprotein ได้แก่ LDL และ VLDL ซึ่งทำหน้าที่ในการขนส่งไขมันภายในร่างกาย ดังนั้นชนิดของ APOE ของแต่ละคนนั้นจะมีผลต่อการเผาผลาญไขมัน และการขนส่งไขมันภายในร่างกาย จึงจำเป็นต้องเลือกรับประทานอาหารประเภทไขมันให้เหมาะสม

 


 

ตาราง ApoE แต่ละแบบกับการใช้พลังงาน

 

 


 

APOE 2 มีหลักการการรับประทานอาหารยังไง

ควรเลือกรับประทานอาหารประเภทไขมันเป็นแหล่งพลังงานหลักมากกว่าอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต แต่ควรเลือกรับประทานอาหารประเภทไขมันดี เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว เป็นต้น และหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัวในอาหาร เช่น น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม เป็นต้น รวมไปถึงควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตทีมีค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemin Index) และค่าปริมาณน้ำตาล (Glycemic Load) สูง เช่น ข้าวสวย น้ำผลไม้ที่มีการเติมน้ำตาล เครื่องดื่มรสหวาน เป็นต้น

 

APOE 3 มีหลักการการรับประทานอาหารยังไง

ควรเลือกรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและประเภทไขมันในสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน โดยเลือกรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำหรือค่าปริมาณน้ำตาลต่ำ เช่น ธัญพืช ผลไม้ที่มีใยอาหารสูง เป็นต้น และสำหรับอาหารประเภทไขมันควรเลือกรับประทานอาหารประเภทไขมันดี เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว เป็นต้น และหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัวในอาหาร เช่น น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม เป็นต้น

 

 APOE 4 มีหลักการการรับประทานอาหารยังไง

ควรเลือกรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานหลักมากกว่าอาหารประเภทไขมัน แต่ควรเลือกรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตทีมีค่าดัชนีน้ำตาลหรือค่า Glycemic load ต่ำ เช่น ธัญพืช ผลไม้ที่มีใยอาหารสูง และหลีกเลี่ยงอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรนที่มีค่าดัชนีน้ำตาลหรือ Glycemic Load ที่สูง เช่น ข้าวสวย น้ำผลไม้ที่มีการเติมน้ำตาล เครื่องดื่มรสหวาน เป็นต้น ส่วนอาหารไขมันก็ควรเลือกเป็นไขมันชนิดดี เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว เป็นต้น และหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัวในอาหาร เช่น น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม เป็นต้น

 

ความแตกต่างของ short term VS long term fuel Carbohydrateเน้นรูปแบบการรับประทานที่ร่างกายสามารถนำไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างรวดเร็ว (Short-term fuel) และ เน้นรูปแบบการรับประทานที่ร่างกายสามารถนำไปใช้พลังงานได้ช้า (Long-term fuel)

 


 

อธิบายค่า Glycemic Index กับภาวะ insulin resistance

 

Source: https://www.glycemicindex.com/about.php

 

Glycemic Index (GI) หรือดัชนีน้ำตาล หมายถึง ตัวเลขแสดงปริมาณน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มขึ้นหลังการรับประทานแต่ละชนิดเทียบกับการรับประทานน้ำตาลกลูโคสในจำนวนคาร์โบไฮเดรตที่เท่ากัน โดยให้ค่าของกลูโคสที่วัดได้เทียบเท่า 100 ซึ่งอาหารที่มีค่า GI สูงจะทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และกระตุ้นให้มีการหลั่งอินซูลินเพิ่มมากขึ้นในช่วงหลังอาหาร ส่งผลให้น้ำตาลถูกเคลื่อนย้ายเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงาน ที่เหลือใช้จะถูกแปรรูปไปเป็นไขมันเก็บสะสมไว้ภายในเนื้อเยื่อต่างๆ โดยเฉพาะเนื้อเยื่อไขมัน ทำให้ลดความไวในการสนองตอบต่ออินซูลินหรือเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance)

 


 

ค่าดัชนีน้ำตาลของอาหารแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับคือ 

1. ดัชนีน้ำตาลต่ำ คือ มีค่า GI ต่ำกว่า 55

2. ดัชนีน้ำตาลปานกลาง คือ มีค่า GI อยู่ระหว่าง 55-70

3. ดัชนีน้ำตาลสูง คือ มีค่า GI สูงกว่า 70

 

ตัวอย่างรายการอาหารไทยตามระดับค่าดัชนีน้ำตาล ดังตาราง

 


Reference 

    • Huang Y-W et al. ApoE2, ApoE3, and ApoE4 Differentially Stimulate APP Transcription and Aβ Secretion. Cell (2017) Volume 168, Issue 3, p427-441.e21, January 26, 2017 Available at : https://www.cell.com/cell/abstract/s0092-8674(16)31760-3
    • Eating right for your APOE gene [online] Available at : https://www.gbhealthwatch.co,/HotTopic-Eating-Right-APOE.php

หมวดหมู่

คลังเก็บ