fbpx

อัมพฤกษ์ อัมพาต กับการฟื้นฟูแบบผสมผสาน - Arun Health Garden

อัมพฤกษ์ อัมพาต กับการฟื้นฟูแบบผสมผสาน

“อันสมองของคนเรานั้น นับเป็นอวัยวะของร่างกายที่ยังลึกลับยิ่งนัก เมื่อมีการบาดเจ็บเกิดขึ้นกับสมองแล้ว ยากที่จะฟื้นฟูให้กลับมาสู่สภาวะปกติได้”

 

ภาวะความผิดปกติของสมองที่พบได้บ่อยคือ การที่หลอดเลือดสมองอุดตันทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง หรือหลอดเลือดแตกมีเลือดออกในสมอง ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า Stroke ทำให้เกิดอาการผิดปกติของร่างกาย ที่พบบ่อยคือการอ่อนแรงหรือชาของร่างกายซีกใดซีกหนึ่งหรือที่เรียกว่าอัมพฤติหรืออัมพาติ แต่อาจจะมีอาการอื่นๆ เช่น ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด กลืนลำบาก เป็นต้น

 

ความเสี่ยงในการเกิด Stroke ได้แก่ อายุที่เพิ่มมากขึ้น มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันในเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง หรือมีพฤติกรรมทำร้ายตัวเองได้แก่ สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เครียด ไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น ใครมีปัญหาสุขภาพดังกล่าวนี้ต้องติดตามการรักษากับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับใส่ใจดูแลปรับพฤติกรรการดำเนินชีวิตให้สุขภาพดี ก็จะลดความเสี่ยงในการเกิด Stroke ได้

 

แต่เมื่อโชคไม่ดีเกิดเป็น Stroke หรืออัมพฤติ อัมพาติแล้ว ประมาณร้อยละ 30 จะหายกลับมาเป็นปกติได้ ประมาณร้อยละ 10-20 จะเสียชีวิตจากโรคนี้ ที่เหลือคืออาจจะมีความผิดปกติด้านใดด้านหนึ่งในระยะยาว ดังนั้นการป้องกันไมห้เกิด Stroke จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง

 

สำหรับการรักษาโรคนี้ ขอแบ่งง่ายๆเป็น 2 ระยะ

1. ระยะเฉียบพลัน คือพึ่งมีอาการ ไม่ว่าจะเป็นอ่อนแรงหรือชา มักเป็นซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หมดสติ ให้รีบพาไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัย ว่าเป็นโรคของสมองหรือไม่ และเป็นประเภทหลอดเลือดสมองอุดตันหรือแตก เพื่อให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือผ่าตัดสมอง แล้วแต่สาเหตุและอาการของคนไข้

2. ระยะยาว หลังจากผ่านการรักษาในระยะเฉียบพลันไปแล้ว แบ่งง่ายๆเป็น 2 ข้อคือ การรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอและติดตามการรักษากับแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมโรคและปัจจัยเสี่ยงดังข้างต้น ซึ่งสำคัญมากเพราะหลอดเลืองสมองจะกลับมาอุดตันหรือแตกอีกได้ถ้าดูแลไม่ดี

อีกข้อที่สำคัญไม่แพ้กันคือการฟื้นฟูกายภาพบำบัดนั่นเอง 

การฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤติอัมพาติโดยทั่วไป

การฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤติอัมพาตินั้น แพทย์จะต้องฟื้นฟูผู้ป่วยแบบองค์รวมและจัดโปรแกรมฟื้นฟูให้ผู้ป่วยแต่ละรายตามปัญหาที่ผู้ป่วยมี ซึ่งแต่ละรายก็ไม่เหมือนกัน (individualized rehabilitation program)   เช่นการฝึกกำลังกล้ามเนื้อข้างที่อ่อนแรง ฝึกการทรงตัว  ฝึกออกกำลังสร้างความแข็งแรงทนทานด้วยการใช้เครื่องออกกำลังกายหรือการใช้การออกกำลังกายในนำ้ ฝึกการเดินบนผื้นผิวที่แตกต่าง เพื่อการทรงตัวที่ดีขึ้น หรือการฝึกกลืน สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาสำลักเนื่องจากกล้ามเนื้อหรือการสั่งการของสมองในการกลืนเสียไป การฝึกกระตุ้นความจำและการทำงานของสมอง (cognitive training) และฝึกการพูดและสื่อสาร ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความผิดปกติในด้านการพูด การฟื้นฟูแบบพื้นฐานเหล่านี้มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาทำกิจกรรมหรือกิจวัตรประจำวันต่างๆได้ดีขึ้น

 

การรักษาด้านการฟื้นฟูแบบผสมผสาน

สำหรับการฟื้นฟูแบบผสมผสานนั้น นอกจากจะให้โปรแกรมการฟื้นฟูดังข้างต้นแล้ว จะเป็นการเพิ่มเติมการใช้การรักษาหรือเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีการศึกษาพบว่าช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้นได้ นอกเหนือไปจากการฟื้นฟูกายภาพบำบัดแบบทั่วไป เช่นการฝังเข็ม การนวดเพื่อรักษาอัมพฤติอัมพาติ นอกจากนี้จะมีการรักษาที่เริ่มนำมาใช้กับผู้ป่วยstroke ไม่นานมานี้แต่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะหลักการของการรักษาไม่ใช่มุ่งหวังเพียงแต่ช่วยฟื้นฟูสภาพทั่วไป แต่มุ่งหวังไปที่การทำให้ส่วนสมองที่เสียไปกลับมาทำหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น โดยการเพิ่มออกซิเจนและเลือดไปเลี้ยงสมองที่ขาดเลือด การรักษาดังกล่าวได้แก่ การรักษาด้วยเครื่องออกซิเจนแรงดันสูงหรือ Hyperbaric Oxygen Therapy (HBOT)  เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อของสมองที่มีการขาดเลือด ซึ่งจากการศึกษาทางการแพทย์ในผู้ป่วย stroke ซึ่งแมืมีอาการมานาน 3 ปี ก็พบว่ายังได้ประโยชน์จากการใช้เครื่อง HBOT นี้ (1) นอกจากนี้ก็มีการใช้เครื่องนวดกระตุ้นการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดหรือ Enhanced External CounterPulsation หรือ EECP) เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองและส่วนต่างๆของร่างกายเพิ่มขึ้น ซึ่งมีการศึกษาทางการแพทย์ในผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบโดยใช้เครื่อง EECP ประกอบกับการให้ยาตาพบว่าผู้ป่วยมี่ผลการรักษาดีขึ้น (2)  ที่สำคัญคือการรักษาทั้ง 2 ชนิดนี้แม้จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่ก็เป็นการรักษาที่ค่อนข้างปลอดภัยพบว่าผลข้างเคียงน้อยมาก 

 

ทางการแพทย์กำลังศึกษาเพิ่มเติมว่าการที่ผู้ป่วย stroke จำนวนหนึ่งดีขึ้นจากการรักษาด้วย HBO หรือ EECP นั้นน่าจะมีคำอธิบายมากกว่าการเพิ่มออกซิเจนหรือปริมาณเลือดไปเลี่ยงสมอง สมมติฐานหลายๆข้อ เช่น การทำให้มีหลอดเลือดใหม่ๆเกิดขึ้นในบริเวณที่ขาดเลือด การลดภาวะการอักเสบของเนื้อเยื่อสมอง และ การเพิ่มปริมาณสารไนตริกออกไซด์ในหลอดเลือดทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตดีขึ้นเป็นต้น

 


เอกสารอ้างอิง

1. Shai Efrati, et al.Hyperbaric Oxygen Induces Late Neuroplasticity in Post Stroke Patients – Randomized, Prospective Trial. PLoS ONE, 2013.

2. Wenhua Lin, et al. Predictors of good functional outcome in counterpulsation-treated recent ischaemic stroke patients. BMJ Open 2013.

 

สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายได้ตามช่องทางต่าง ๆ ของเรา :

โทร : 02-717-4441 และ 094-812-7722 หรือ inbox ทาง facebook page สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก

เปิดบริการ วันอังคาร – วันอาทิตย์ | เวลา 09:00 – 18:00

ที่อยู่ : 54/1 ซอยธารารมณ์ 4 ถนนรามคำแหง 9 แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310

 

กลับสู่หน้าหลัก

หมวดหมู่