fbpx

PreCODE โปรแกรมตรวจคัดกรองและป้องกันสมองเสื่อม - Arun Health Garden

PreCODE – Prevention of COgnitive DEcline

โปรแกรมตรวจคัดกรองและป้องกันสมองเสื่อม

 

โปรแกรม PreCODE คือโปรแกรมอะไร?

 

PreCODE คือโปรแกรมตรวจคัดกรองและป้องกันภาวะสมองเสื่อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ การตรวจคัดกรองประกอบด้วยการตรวจทางพันธุกรรม และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ในการเกิดภาวะสมองเสื่อม เช่น การอักเสบ เบาหวาน พิษโลหะหนัก ฯลฯ

การป้องกันประกอบด้วยการใช้วิธีที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่าช่วยป้องกันหรือชะลอไม่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโภชนาการ การออกกำลังกาย โปรแกรมฝึกสมอง อาหารเสริม และการรักษาตามแนวทางการแพทย์บูรณาการ

 

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์

  • ผู้สูงอายุที่มีอายุเกินกว่า 65 ปี แต่อย่างไรก็ตามอัลไซเมอร์สามารถเกิดได้ตั้งแต่อายุประมาณ 40 ปี
  • ผู้ที่ปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรม เช่น มียีน ApoE4 อาจมีความเสี่ยงในการเกิดอัลไซเมอร์สูงกว่าคนปกติถึง 8-10 เท่า
  • ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นอัลไซเมอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นตอนอายุยังน้อย
  • ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุทางศีรษะและสมอง
  • ผู้ที่โรคหลอดเลือดหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมอง
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน มีโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในหลอดเลือด
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือดิ่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • ผู้ที่มีโรคซึมเศร้าที่ไม่ได้รับการดูแลรักษา
  • ผู้ที่มีภาวะโดดเดี่ยวทางสังคม (social isolation)
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง ขาดการขยับร่างกาย (sedentary lifestyle)

 

ระยะของภาวะสมองเสื่อม

 

 

ระยะต้น (Subjective Cognitive Decline: SCD) คนไข้รับรู้ว่ามีการเสื่อมถอยของสมอง ลืมสิ่งของ ลืมที่จอดรถ ลืมวันนัด อาจกระทบการใช้ชีวิตการทำงานในบางครั้ง การตรวจทางประสาทจิตวิทยาไม่พบความผิดปกติ คนไข้ในระยะนี้อาจกลายเป็นอัลไซเมอร์ได้ โดยอาจกินเวลานานเป็นสิบปี ในะระยะนี้คนไข้ควรได้รับการตรวจหาปัจจัยเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมและตรวจติดตามการทำงานของสมองอย่างต่อเนื่อง

 

ระยะกลาง (Mild Cognitive Impairment: MCI) อาการทางสมองชัดเจนขึ้นจนคนใกล้ชิดสังเกตได้ กระทบการใช้ชีวิตการทำงานมากขึ้น แต่ยังสามารถช่วยเหลือตัวเอง ทำกิจวัตรประจำวันต่างได้ปกติ การตรวจทางประสาทจิตวิทยาพบความผิดปกติ คนไข้ในกลุ่มนี้อาจมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมมากกว่าคนปกติถึง 5 เท่า ในระยะนี้คนไข้ควรได้รับการตรวจหาปัจจัยเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมและตรวจติดตามการทำงานของสมองอย่างต่อเนื่อง ป้องกันและรักษาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความดัน เบาหวาน ไขมัน ฯลฯ ที่เพิ่มความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม

 

ระยะรุนแรง (Dementia) มีความเสื่อมของสมองมากขึ้นจนกระทบการช่วยเหลือตัวเองและการทำกิจวัตรประจำวัน ในระยะนี้ควรมีการดูแลใกล้ชิดจากทีมแพทย์ และญาติผู้ดูแล โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อให้คนไข้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวัน และช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด

 

ความสำคัญในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์

 

อัลไซเมอร์เป็นโรคที่ไม่มียารักษาให้หายขาด แม้จะมีการศึกษาและงานวิจัยมากมายเป็นเวลามากกว่า 30 ปีเพื่อหายารักษาแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ และด้วยความที่โลกของเรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2050 อาจมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้น 2-3 เท่าทั่วโลก โรคอัลไซเมอร์ไม่ได้เพียงส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วย ที่ทำให้ความจำ ความสามารถในช่วยเหลือตัวเอง ทำกิจวัตรประจำวันได้ลดลง จนกระทั่งเสียชีวิตในที่สุด แต่ยังกระทบครอบครัว ผู้ดูแล และสังคมเป็นวงกว้าง

การป้องกันตั้งแต่ยังไม่มีอาการ หรือระยะต้นๆ ที่อาการไม่รุนแรง จะช่วยคงประสิทธิภาพการทำงานของสมอง และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ ที่เมื่อเป็นแล้วการรักษานั้นทำได้ยากและให้ประสิทธิผลที่ไม่ดีนัก

 


 

องค์ประกอบหลักของโปรแกรม

  1. การประเมินความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์
    ได้แก่ การประเมินทางประสาทจิตวิทยา การตรวจเลือดหาค่าอักเสบ ค่าน้ำตาล สารพิษ การทำงานของตับไต รวมไปจนถึงการตรวจทางพันธุกรรมหรือยีนที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์
  2. โปรแกรมป้องกันอัลไซเมอร์ ซึ่งประกอบไปด้วย
  • การปรึกษาและให้คำแนะนำด้านโภชนาการโดยกำหนดอาหาร ให้ผู้เข้าร่วมโปรแกรมมีความรู้ และสามารถเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสมอง สุขภาพโดยรวม และมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่าช่วยชะลอภาวะสมองเสื่อมได้
  • โปรแกรมออกกำลังกายเฉพาะบุคคล ที่มีการดูแลโดยเทรนเนอร์ผู้มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม ใช้นวัตกรรมการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพ เช่น การฝึกแบบ “จำกัดการไหลเวียนเลือด” (Blood Flow Restriction Training)
  • Brain Exercise หรือการออกกำลังสมอง ผ่านโปรแกรมฝึกสมอง ที่มีงานวิจัยตีพิมพ์เกินกว่า 100 ฉบับ ว่าช่วยเพิ่มการทำงานของสมอง และป้องกันภาวะสมองเสื่อม โดยใช้เวลาฝึกเพียงเล็กน้อยเพียงวันละ 10-20 นาที เช่นเดียวกับสุขภาพกาย สุขภาพหัวใจที่ต้องการการออกกำลังกาย สมองของเราก็เช่นกัน
  • อาหารเสริม AHG Brain+ formula ที่ประกอบไปด้วย Alpha-lipoic Acid, Citicoline, Resveratrol, Coenzyme Q10 และ methylcobalamin ที่มีส่วนช่วยในการบำรุงระบบประสาทและสมอง
  • การดูแลร่วมโดยใช้นวัตกรรมทางการแพทย์ เช่น การใช้ EECP หรือ HBOT ที่ช่วยในการสร้างหลอดเลือด และเพิ่มออกซิเจนเข้าไปในร่างกายเพื่อรักษาและฟื้นฟูสมอง

ผลลัพธ์ที่คาดหวังได้จากโปรแกรม

 

  • ความสามารถในการรู้คิด (Cognitive function) ดีขึ้น ผ่านการประเมินโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Cognitive quotient) ซึ่งวัดความสามารถหลักๆใน 3 ด้านคือ ความจำ (memory) ทักษะการวางแผนตัดสินใจ (executive function) และความเร็วในการประมวลผล (processing speed) ซึ่งจะส่งให้ประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น รักษาความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น

 

  • ปัจจัยเสี่ยงของสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ได้รับการดูแลและแก้ไขจากทีมแพทย์และสหวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญ เช่น น้ำตาลในเลือดดีขึ้น ค่าการอักเสบลดลง กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ความสามารถในการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น ฯลฯ

 

ป้องกันภาวะสมองเสื่อมด้วยตัวเอง

 

1.ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด

  • งดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาล อาหารแปรรูป ทานผักผลไม้ให้ได้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ และการออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความดันโลหิต น้ำตาลและไขมันในเลือด

 

2. ฝึกจิตใจให้กระฉับกระเฉง และเข้าสังคมอย่างสม่ำเสมอ

  • อ่านหนังสือ
  • เรียนภาษาต่างประเทศ
  • เล่นดนตรี
  • ทำงานอาสาสมัครชุมชน
  • เล่นกีฬากันเป็นกลุ่ม
  • ทำกิจกรรม หรืองานอดิเรกใหม่ๆ
  • พบปะเพื่อนฝูง ครอบครัว

 


สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมได้ที่ LINE สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก

เพิ่มเพื่อน

 


 

สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก ยินดีให้คำปรึกษาและพร้อมแนะนำโปรแกรมที่เหมาะสมให้แก่คุณ

สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก เวชศาสตร์ฟื้นฟูผสมผสาน | Rehabilitation & Wellness Center | Center for Brain

Line Official : @arunhealthgarden (มีเครื่องหมาย @) (https://lin.ee/kVkb3zA)

facebook.com/arunhealthgarden

instagram : arunhealthgarden

Tel : 02-717-4441 หรือ 094-812-7722

 


อ้างอิง :
https://www.nia.nih.gov/news/study-reveals-how-apoe4-gene-may-increase-risk-dementia
https://www.alz.org/alzheimers-dementia/what-is-alzheimers/causes-and-risk-factors/genetics
(https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/mild-cognitive-impairment/symptoms-causes/syc-20354578)
(https://www.nia.nih.gov/health/what-mild-cognitive-impairment)

หมวดหมู่

คลังเก็บ