fbpx

Perispinal Etanercept - ความหวังใหม่ของผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบประสาท

Perispinal Etanercept

 

ความหวังใหม่ของผู้ป่วยที่มีปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากระบบประสาท เช่น อัมพฤกษ์อัมพาต (Stroke), การบาดเจ็บของสมอง (Traumatic Brain Injury,TBI), โรคสมองเสื่อม (Alzheimer), อาการปวดจากเส้นประสาท เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท, Neuropathic Pain เมื่อ นายแพทย์ โทบินิก (Edward Tobinick) แห่งสถาบัน INR ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาต่างๆ จากระบบประสาท ด้วยยา TNF inhibitor : Etanercept โดยมีวิธีบริหารยาแบบพิเศษคือ “Perispinal Injection”

จากการศึกษาโรคในระดับพันธุกรรม พบแล้วว่า ปัจจัยสำคัญของการเกิดโรคทางระบบประสาทเรื้อรังล้วนมาจาก ภาวะอักเสบของระบบประสาท (Neuro-inflammation) จากการทำงานของไมโครเกลียลในสมอง และ TNF (Tumor Necrosis Factor) ที่มากเกินไป จนเป็นสารก่ออักเสบกับเซลล์ประสาท และทำให้เซลล์ประสาทปิดสวิตช์การทำงานลง 

Tumor Necrosis Factor (TNF) เป็นสารตัวหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเมื่อเกิดการบาดเจ็บ และจะกระตุ้นการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของร่างกาย ให้หายจากการบาดเจ็บ โดย TNF มีบทบาทในหลายระบบของร่างกาย โดยเฉพาะระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ในภาวะปกติแล้ว TNF จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเส้นประสาท และสารสื่อประสาท แต่ในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น โรคอัมพฤกษ์อัมพาต การบาดเจ็บของสมอง อัลไซเมอร์ ไขสันหลังบาดเจ็บ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการปวดจากเส้นประสาท จะพบว่า มีการอักเสบของระบบประสาท หรือที่เรียกว่า Neuroinflamatory disorder พบว่ามีระดับของ TNF ที่มากกว่าปกติ

ตั้งแต่ปี 1998 มีการพัฒนายา TNF inhibitor : Etanercept เป็นผลิตภัณฑ์ ชีวภาพที่ออกฤทธิ์ลดการอักเสบ โดยการไปยับยั้ง TNF ซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบ เริ่มแรกยาตัวนี้ใช้สำหรับรักษาโรคข้อรูมาตอยด์ จากการศึกษาตั้งแต่ปี 2010 โดย นายแพทย์ โทบินิก (Edward Tobinick) แห่งสถาบัน INR ใช้ยาตัวนี้ ฉีดเทคนิคแบบพิเศษ ที่เรียกว่า Perispinal injection พบว่าผู้ป่วยกว่า 2 พันกว่าคน มีอาการทางระบบประสาทที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหว การเดิน ความจำ การพูด การสื่อสาร อาการชา อาการปวด

 

เทคนิคการฉีดยาแบบ Perispinal Injection เป็นการสอดเข็มขนาดเล็ก และฉีดยาบริเวณเอ็นของกระดูกสันหลัง ลึกจากผิวหนังเพียง 1 ถึง 1.5 cm เท่านั้น

 

โดยเทคนิคนี้ ตัวยาจะถูกดูดซึม และออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทผ่าน Cerebrospinal Venous System โอกาสที่ไขสันหลังและเส้นประสาท บาดเจ็บจากขั้นตอนการฉีดยาเกิดขึ้นน้อยมาก

 

กลไกการออกฤทธิ์

หลังฉีดยาไปแล้ว 5 ถึง 10 นาทีตัวยาจะถูกลำเลียงไปสู่สมองและไขสันหลัง และตัวยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ TNF ที่มากเกินไป ส่งผลให้สมอง และเส้นประสาท ทำงานดีขึ้น

 

 

ตัวอย่างของโรคที่สามารถรักษาด้วย Perispinal Etanercep Injection

1. หลอดเลือดในสมองตีบหรือแตก Stroke

2. สมองบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ Traumatic Brain injury

3. ไขสันหลังบาดเจ็บ Spinal cord injury

4. อัลไซเมอร์

5. ภาวะสมองเสื่อม

6. พาร์กินสัน

7. อาการปวดจากเส้นประสาท

8. อาการปวดจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

 


 

ข้อห้ามใช้ (contraindication)

  1. แพ้ยารุนแรง หรือแพ้ส่วนประกอบที่เป็น murine protein (สําหรับ infliximab, rituximab) 
  2. มีการติดเชื้อที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง
  3. เสี่ยงต่อการติดเชื้อซํ้าซาก (recurrent infections) เช่น มีแผลเรื้อรัง, มีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจยืดเยื้อ (chronic persistent) หรือเป็นๆหายๆ (recurrent), จําเป็นต้องคาสายสวนทางเดินปัสสาวะเป็นต้น
  4. มีการติดเชื้อไวรัส HIV 
  5. อยูในระหว่างตั้งครรภ์ หรือระยะให้นมบุตร 
  6. มีภาวะหัวใจล้มเหลว NYHA function class III, IV 15-17(เฉพาะยาในกลุ่ม anti TNFagents) 
  7. มีโรคประจําตัว (significant comorbidities) ที่เสี่ยงต่อการใช้ยา เช่น ไตวายเรื้อรัง, ตับแข็ง
  8. เป็นต้น
  9. มีประวัติ demyelinating disease (เฉพาะยาในกลุ่ม anti TNF agents)
  10. มีประวัติโรคมะเร็งภายในระยะเวลา 10 ปี (ไม่รวม basal cell carcinoma)

 


 

 อาการไม่พึงประสงค์

  1. ปฏิกิริยาของผิวหนังในบริเวณที่ฉีดยา
  2. อาจมีค่าเอนไซม์ตับเพิ่มสูงขึ้น  อุบัติการณ์ร้อยละ 4.18
  3. กรณีที่มีการใช้ยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน เกิน 4 สัปดาห์ขึ้นไป จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นชนิดไม่รุนแรง เช่น เป็นหวัด หลอดลมอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โดยรักษา Perispinal Etanercept injection จะใช้ยาในช่วงสั้นๆ ดังนั้นผลข้างเคียงเรื่องความเสี่ยงในการติดเชื้อ จึงน้อยมาก

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

A Neurologist’s guide to TNF biology, and to the principles behind the therapeutic removal of excess TNF in disease. 

http://www.nrimed.com/wp-content/uploads/358263-2.pdf

ลิงค์ paper ของสถาบัน INR http://www.nrimed.com/inr-scientific-publications/downloads/

ตัวอย่างเคสที่รักษา ด้วย วิธีนี้แล้วมีอาการดีขึ้น

https://www.youtube.com/watch?v=-nEtQ-Wxkas

https://www.youtube.com/watch?v=Np62fRdIo1E

 


 

สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก เวชศาสตร์ฟื้นฟูผสมผสาน | Rehabilitation & Wellness Center | Center for Brain

Line Official : @arunhealthgarden (มีเครื่องหมาย @) (https://lin.ee/kVkb3zA)

facebook.com/arunhealthgarden

instagram : arunhealthgarden

Tel : 02-717-4441 หรือ 094-812-7722

หมวดหมู่

คลังเก็บ