fbpx

AHG Alzheimer's Program โปรแกรมการรักษาโรคอัลไซเมอร์ โดยหลักการ ReCODE - Arun Health Garden

โปรแกรมการรักษาโรคอัลไซเมอร์ โดยหลักการ ReCODE คืออะไร ?

 

โปรแกรม ReCODE เป็นการรักษาที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าช่วยให้ภาวะสมองเสื่อม จากอัลไซเมอร์ดีขึ้น และป้องกันการเกิดโรคในกรณีที่ยังไม่เป็น เหมาะสมสำหรับการป้องกันและรักษาผู้เริ่มมีอาการของสมองเสื่อม/อัลไซเมอร์ (Dementia/Alzheimer)

 

ReCODE เกิดขึ้นจากการวิจัยอย่างต่อเนื่องของ นายแพทย์ Dale Bredesen แพทย์อารยุรกรรม ประสาทที่สหรัฐอเมริกา คุณหมอเดลเป็นผู้ที่ทำการศึกษาเรื่องโรคความเสื่อมของสมองมากว่า 30 ปี และได้เปลี่ยนมุมมองของการรักษาของปัญหาสมองเสื่อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยอัลไซเมอร์ โรคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากการเสื่อมของสมองตามปกติเท่านั้น แต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่ทำให้เกิดโรค และที่คุณหมอเดลค้นพบในปัจจุบัน คือ 36 ปัจจัย ที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม ดังนั้นการจะรักษาภาวะสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ได้นั้นจึงไม่สามารถจะรักษาด้วยยาเท่านั้น แต่ต้องเริ่มจากการค้นหาปัจจัยในการเกิดโรคนี้และแก้ไขที่ต้นเหตุ

 

คุณหมอเดลได้ใช้หลักของการแพทย์ผสมผสาน (Integrative Medicine / Functional medicine) ที่มุ่งเน้นการหาต้นเหตุในการเกิดโรคสมองเสื่อม และแก้ไขตามสาเหตุ ในงานวิจัยของคุณหมอเดลและคณะในปี 2014 (1,2) ซึ่งใช้หลักการแพทย์ผสมผสานในการรักษาคนไข้สมองเสื่อมรายแรกให้หายจากโรคได้ และในปี 2018 ก็ได้มีรายงานผู้ป่วยจากหลายโรงพยาบาลที่มีปัญหาสมองเสื่อม 100 คน ดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษาตาม ReCODE protocol จากคุณหมอจากหลากหลายโรงพยาบาล (3)

 


แค่อาการเตือนก็ต้องใส่ใจอย่ารอจนพบ Test Positive

 

 

Normal Aging Brain เมื่ออายุมากขึ้น เป็นปกติที่สมองจะมีการเปลี่ยนแปลงได้บ้างในการรับรู้และเข้าใจ (Cognitive decline) [ตามเส้นสีเขียว] แต่ทั้งนี้ภาวะสมองเสื่อม หรือ dementia คือ สมองมีความผิดปกติมากกว่าการเสื่อมตามวัย ซึ่งอาจจะใช้เวลาหลายปีหรือหลายสิบปีกว่าจะแสดงอาการสมองเสื่อมอย่างชัดเจน (เส้นสีฟ้า~เส้นสีนำ้เงิน~เส้นสีแดง) ทั้งนี้อาการเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อมอาจแบ่งได้ดังนี้

 

ระยะต้น Subjective Cognitive Impairment หรือ SCI : มีอาการผิดปกติแต่แพทย์ตรวจไม่พบ เป็นภาวะความผิดปกติของสมองที่คนไข้รับรู้ได้ว่ามีอาการ เช่น หลงลืมมากขึ้น แต่ทางการแพทย์ยังไม่มีการตรวจหรือมีแบบทดสอบที่ตรวจพบความผิดปกติได้ (ตามเส้นสีฟ้า แต่ในกรณีนี้อาจจะเป็นไปตามเส้นสี ฟ้าที่ค่อยๆมีการลดลงของหน้าที่สมองหรือแย่ลงมากตามเส้นสีนำ้เงิน เป็น MCI หรือ เส้นสีแดงคือ Dementia)

 

ระยะกลาง Mild Cognitive Impairment หรือ MCI : เริ่มมีภาวะสมองเสื่อม ความผิดปกติของสมองมากขึ้นจนเป็นปัญหาทั้งตนเองหรือญาติ แต่ยังทำกิจวัตรประจำวันได้ ตรวจพบความผิดปกติได้ เช่น แบบทดสอบหน้าที่ของสมองผิดปกติอย่างน้อย 1 ด้าน (ตามเส้นสีนำ้เงิน)

 

ระยะรุนแรง Alzheimer’s Dementia : ภาวะสมองเสื่อม ความผิดปกติของสมองมากขึ้นจนเป็นปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวัน

 

การแพทย์แผนปัจจุบันแบ่งประเภทของสมองเสื่อมตามความรุนแรงของโรค คือ อาการน้อย อาการปานกลาง อาการหนัก (ตามเส้นสีแดง)

 

จะเห็นว่าเมื่อเริ่มมีอาการ pre-clinical กว่าจะเป็นภาวะสองเสื่อม ในบางคนใช้เวลานานอาจจะเป็นสิบปี ซึ่งถ้าเรารู้ถึงอาการความผิดปกติ และสาเหตุเราอาจจะป้องกันได้ก่อน

 


Paradigm Shift

 

การรักษาสมองเสื่อมในการแพทย์ปัจจุบันทั่วไป เป็นการใช้ยาเพื่อรักษาตามอาการเท่านั้น ไม่สามารถรักษาโรคให้หายขาดได้

โดยในอดีตจนถึงปัจจุบัน พัฒนาการของการรักษาอัลไซเมอร์ เริ่มจาก…

 

 

แต่ในปัจจุบัน ทางการแพทย์จะการรักษาสมองเสื่อมด้วยการแพทย์ผสมผสาน (Integrative Medicine / Functional medicine) ตามหลักการของ ReCODE ใช้ หลักการหาปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคและจัดการกับปัจจัยเสี่ยงนั้นๆ เมื่อแก้สาเหตุได้แล้วโรคจะดีขึ้นหรือหายได้

 

 

ทางการแพทย์แผนปัจจุบันทั่วไปเชื่อกันว่าภาวะสมองเสื่อม เกิดจากการสะสมของโปรตีนในสมองที่เรียกว่า amyloid plaques ทำให้เกิดการทำลายและหน้าที่ของสมองเสียไป แต่คุณหมอเดล เสนอแนวความคิดที่ว่า จริงๆแล้ว amyloid plaque ที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดจาก protective mechanism ของร่างกายต่อภาวะต่างๆ ที่เป็นสาเหตุของสมองเสื่อม เช่น การอักเสบ (inflammation) การพร่องสารอาหาร ฮอร์โมนไม่สมดุล หรือ สารพิษ เช่นโลหะหนักหรือเชื้อโรค เป็นต้น

 

การค้นพบดังกล่าวทำให้คุณหมอเดลแบ่งประเภทของ ภาวะสมองเสื่อม เป็น 6 ประเภท ดังนี้ (แต่พบบ่อย 4 ประเภทแรก)

 

ประเภทที่ 1 : ภาวะการอักเสบสูง: Inflammatory, “Hot” เป็นประเภทที่พบว่ามีการอักเสบ หรือ inflammation เกิดขึ้นในร่างกาย พบได้บ่อยในคนที่มี APOE4 gene ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอัลไซเมอร์ การตรวจทางห้องปฏิบัติ บ่งถึงมีภาวะการอักเสบ ได้แก่ ค่า C-Reactive Protein, interleukin-6, tumor necrosis factor สูง, Albumin to Globulin ratio ลดลงและมักมีความผิดปกติของ เมตาบอลิซึม หรือฮอร์โมน เช่น ภาวะดื้ออินซูลิน

page3image12666368

ประเภทที่ 1.5: นำ้ตาลเป็นพิษGlycotoxic, “Sweet” มักมีทั้งลักษณะของ ประเภท 1 และ 2 ร่วมกับค่าฮอร์โมนอินซูลิน ระดับนำ้ตาลและนำ้ตาลสะสมในเลือดสูง ซึ่งแสดงถึงภาวะดื้ออินซูลิน

 

ประเภทที่ 3 : พร่องฮอร์โมน/วิตามิน:Atrophic, “Cold” มีภาวะพร่องฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนธัยรอยด์ ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต เป็นต้น หรือมีภาวะพร่องวิตามิน เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระ การตรวจทางห้องปฏิบัติการพบมีระดับฮอร์โมนหรือวิตามินเกลือแร่ลดลง

 

ประเภทที่ 4 : สารพิษสะสม Toxic, (“Vile”) มีสารพิษสะสมในร่างกาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสมองในหลายส่วน มีผลต่อสมองเนื้อสมองที่ลดลง เช่น สารพิษจากเชื้อโรค/เชื้อรา หรือโลหะหนัก การตรวจทางห้องปฏิบัติการพบค่าสารพิษหรือโลหะหนักในเลือดสูง เช่น ปรอท หรือ mycotoxins จากเชื้อรา

page3image12666560

ประเภทที่ 5 : หลอดเลือดสมอง “Pale” สาเหตุเนื่องมาจากหลอดเลือดสมอง เช่น หลอดเลือดสมองตีบ หรือแตก

page3image12672512

ประเภทที่ 6 : สมองกระทบกระเทือน“ Dazed” สาเหตุเนื่องมาจากสมองได้รับการบาดเจ็บกระทบกระเทือน (Traumatic Brain Injury) ในที่นี้จะเน้นแต่ 4 กลุ่มแรกที่พบบ่อยของ Alzheimer’s dementia และเป็นกลุ่มที่ต้องหาสาเหตุ

 


จำเป็นไหมที่ต้องรู้ว่าเป็นสมองเสื่อมประเภทไหน?

 

แต่ละประเภทของสมองเสื่อมตาม ReCODE Protocol มีความแตกต่างกันตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการทำแบบทดสอบของผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งผลการตรวจเหล่านี้ จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงการรักษาในผู้ป่วยแต่ละราย/แต่ละประเภท ซึ่งจะแตกต่างกัน เช่น อาหาร หรือการใช้ supplements หรือยา เป็นต้น

 

ตัวอย่าง เช่น ถ้าเป็นประเภท 3 หรือ toxic จำเป็นต้องหาตัวสารพิษ และทำการรักษาและขับออกจากร่างกาย เป็นต้น ในขณะที่ประเภท ที่ 1.5 คือ glycotoxic ต้องมุ่งการรักษาไปที่การควบคุมระดับนำ้ตาลและภาวะดื้ออินซูลินให้ดีเยี่ยม เป็นต้น

 

ตัวอย่างความแตกต่างของอาการแสดงของภาวะสมองเสื่อม 4 ประเภท


 

 

 

โดย พญ. ปิยะนุช รักพาณิชย์ และ นพ. ภาณุวัฒน์ พุทธเจริญ ที่สวนสุขภาพอรุณสหคลินิกนั้น ได้ผ่านการอบรม Bredesen Protocol เรียบร้อยแล้ว และเป็นคุณหมอ 2 ท่านแรกในไทย ที่เป็น Registered Physician ของคลินิก Apollo Health ของ Dr. Dale Bredesen อย่างเป็นทางการ

 


สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมได้ที่ LINE สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก

เพิ่มเพื่อน

 


สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก ยินดีให้คำปรึกษาและพร้อมแนะนำโปรแกรมที่เหมาะสมให้แก่คุณ

สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก เวชศาสตร์ฟื้นฟูผสมผสาน | Rehabilitation & Wellness Center | Center for Brain

Line Official : @arunhealthgarden (มีเครื่องหมาย @) (https://lin.ee/kVkb3zA)

facebook.com/arunhealthgarden

instagram : arunhealthgarden

Tel : 02-717-4441 หรือ 094-812-7722


 

อ้างอิง Reference
1. Bredesen DE. Reversal of cognitive decline: A novel therapeutic program. Aging 2014, 6: 707-717.

  1. Bredesen DE, Amos EC, Canick J, Ackerley M, Raji C, et al. Reversal of Cognitive Decline in Alzheimer’s Disease. Aging 2016, 8: 1250-1258.
  2. Bredesen DE, Sharlin K, Jenkins D,et al. Reversal of Cognitive Decline: 100 Patients. J Alzheimers Dis Parkinsonism 2018, 8:5

หมวดหมู่

คลังเก็บ