ป้องกันโรคกระดูกพรุน ต้องเริ่มตั้งแต่ก่อนอายุ 30 ปี
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
ในช่วงวัยรุ่น กระดูกจะมีความหนาแน่นและแข็งแรงมากที่สุด แต่เมื่อพ้นอายุ 30 ปีขึ้นไป ความหนาแน่นของกระดูกจะเริ่มลดลง ส่งผลให้กระดูกบางลงและอ่อนแอจนเกิด “ภาวะกระดูกพรุน” ในที่สุด
ภาวะกระดูกพรุนไม่มีอาการเตือนใด ๆ จนกว่าจะเกิดกระดูกหักจากการกระแทกหรือหกล้ม บริเวณที่พบกระดูกหักได้บ่อยที่สุด คือ ข้อมือ ข้อสะโพก และกระดูกสันหลัง นอกจากนี้ภาวะกระดูกพรุนมักจะเป็นสาเหตุของกระดูกสันหลังผิดรูป ทำให้หลังค่อม รวมไปถึงความสูงลดลงในผู้สูงอายุได้อีกด้วย
ภาวะกระดูกพรุนพบได้บ่อยโดยเฉพาะในผู้หญิงสูงอายุ ชาวเอเชียที่มีโครงสร้างร่างกายเล็ก ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี มีสมาชิกครอบครัวมีประวัติเป็นโรคกระดูกพรุน ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงผู้ที่ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่เป็นประจำ
แนวทางการป้องกัน
การป้องกันการเกิดกระดูกพรุนมีหลายวิธี ที่สำคัญควรเริ่มทำตั้งแต่ก่อนวัย 30 ปี ที่ร่างกายยังสามารถสร้างกระดูกได้เร็วกว่าการสลาย เช่น
- การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม วิตามินดี และแร่ธาตุต่าง ๆ ครบถ้วน
- การออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยเป็นการออกกำลังกายประเภทที่มีการลงน้ำหนัก (weight-bearing exercise) ไม่ว่าจะเดิน วิ่ง กระโดด รวมทั้งการทำเวทเทรนนิ่ง
- ลดปัจจัยเสี่ยง เช่น การสูบบุรี่ การดื่มสุรา จำกัดปริมาณคาเฟอีนให้ไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน
ที่สวนสุขภาพอรุณมีบริการทั้งการรักษาและป้องกันอย่างครบวงจร ทั้งการให้ยาต้านการสลายกระดูก การออกกำลังกายที่ดูแลโดยนักกายภาพบำบัด ควบคู่กับการเสริมวิตามินดีและแร่ธาตุต่าง ๆ อย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มมวลกระดูกและป้องกันกระดูกหักในอนาคต
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมป้องกัน รักษากระดูกพรุน ข้อเสื่อม ได้ที่ LINE สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก
สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก ยินดีให้คำปรึกษาและพร้อมแนะนำโปรแกรมที่เหมาะสมให้แก่คุณ
สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก เวชศาสตร์ฟื้นฟูผสมผสาน | Rehabilitation & Wellness Center | Center for Brain
Line Official : @arunhealthgarden (มีเครื่องหมาย @) (https://lin.ee/kVkb3zA)
instagram : arunhealthgarden
Tel : 02-717-4441 หรือ 094-812-7722