ดูแลด้วยความเข้าใจ เมื่ออัลไซเมอร์ไม่ใช่แค่ความจำที่บกพร่อง
แม้ในระยะแรกผู้ป่วยอัลไซเมอร์มักมีปัญหาเรื่องความจำเป็นหลัก แต่เมื่อเวลาผ่านไป การทำหน้าที่ของสมองด้านอื่นๆ ก็เริ่มถดถอย ไม่ว่าจะเป็นสติปัญญา เหตุผล ความคิด การตัดสินใจ การรับรู้ อารมณ์ ส่งผลให้ความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นลดลง
ผู้ที่มีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์มาอย่างยาวนาน คงจะทราบดีถึงความเหนื่อยล้า วิตกกังวล ซึมเศร้า ท้อแท้ เครียด หลายๆ ครั้งก็รู้สึกผิด และผิดหวังที่อาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้น ทั้งยังโดนผู้ป่วยตำหนิ แสดงออกถึงความไม่พอใจ ไม่ให้ความร่วมมือ หรือในบางครั้งก็เกิดการใช้ความรุนแรงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ความสัมพันธ์แย่ลง จบลงที่ผู้ป่วยถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการดูแล
แต่พฤติกรรมเหล่านั้น ทั้งการไม่ให้ความร่วมมือ การใช้ความรุนแรง ส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากตัวโรคอัลไซเมอร์เอง ไม่ใช่เพราะว่า พวกเขาดื้อ ไม่รับฟัง หรือไม่มีเหตุผล สิ่งสำคัญที่สุดคือการที่คนในครอบครัว หรือผู้ดูแล “เข้าใจ” ว่าพวกเขาป่วย ไม่ได้แกล้งทำ และพวกเขาไม่ได้ทำพฤติกรรมเหล่านี้เพียงเพราะอยากทำ การดูแลต้องอาศัยความเข้าใจ การยอมรับ ความอดทน รวมถึงควรรู้ขีดกำจัดของตัวเองว่าเมื่อใดควรขอความช่วยเหลือ ทั้งจากสมาชิกในครอบครัวคนอื่น ๆ บุคลากรทางการแพทย์ หรือจ้างวานผู้ดูแล เพื่อให้ตัวเองได้มีโอกาสพัก เพื่อเป็นผลดีกับทั้งสองฝ่าย
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมป้องกันโรคอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ฟื้นฟูสมองอย่างตรงจุดได้ที่ LINE สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก
สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก ยินดีให้คำปรึกษาและพร้อมแนะนำโปรแกรมที่เหมาะสมให้แก่คุณ
สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก เวชศาสตร์ฟื้นฟูผสมผสาน | Rehabilitation & Wellness Center | Center for Brain
Line Official : @arunhealthgarden (มีเครื่องหมาย @) (https://lin.ee/kVkb3zA)
instagram : arunhealthgarden
Tel : 02-717-4441 หรือ 094-812-7722