fbpx

ปัญหา "ภาวะลำไส้รั่ว" (Leaky Gut) คืออะไร? - Arun Health Garden

ภาวะลำไส้รั่ว LEAKY GUT

 

ปวดหัว ปวดท้อง นอนไม่หลับ ลำไส้แปรปรวน หรือ แพ้อาหารโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นอาการที่เสี่ยงต่อการเป็นลำไส้รั่ว หรือไม่ ?

 

โดยทั่วไปจะเป็นที่ทราบกันดีว่าลำไส้ของคนเรามีหน้าที่สำคัญในการย่อยและดูดซึมสารอาหารเพื่อให้ร่างกายนำไปใช้เป็นพลังงานในการดำรงชีวิต แต่จริงๆแล้วหน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของลำไส้นั้นคือ การคัดเลือกการดูดซึมว่าจะดูดหรือไม่ดูดซึมสิ่งใดเข้าไปในร่างกาย ถ้าการทำงานของลำไส้ที่ปกติดี การควบคุมไม่ให้เกิดการดูดซึมสิ่งที่เป็นอันตรายต่อร่างกายจะเป็นไปตามอัตโนมัติเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย

 

Leaky Gut เป็นภาวะที่เซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ทำงานผิดปกติ ทำให้มีการหลุดรอดของโปรตีน สารอาหารโมเลกุลใหญ่ สารพิษ หรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ดูดซึมผ่านผนังลำไส้ ทั้งๆที่ปกติแล้วหนังลำไส้จะมีหน้าที่ป้องกันและคัดเลือกไม่ให้เกิดการดูดซึมของโมเลกุลเหล่านี้เข้าไปในร่างกาย สิ่งแปลกปลอมเหล่านี้จะเข้าไปกระตุ้นต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ก่อให้เกิดภาวะการอักเสบต่ออวัยวะ และระบบต่างๆในร่างกายเกิดการบกพร่อง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการผิดปกติและโรคเรื้อรังหลายชนิดได้


 

สาเหตุของภาวะลำไส้รั่วนั้น เกิดจากอะไร?

 

สาเหตุของการเกิด Leaky Gut คือภาวะอะไรก็ตามที่ทำให้เกิดการทำลายเซลล์บุผนังลำไส้ ซึ่งได้แก่

  • อาหารที่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตที่ขัดสีสูง
  • ความเครียด
  • อาหารบางชนิด เช่น แอลกอฮอล์ คาเฟอีน โกโก้ ช็อคโกแลต เครื่องดื่มอัดลม อาหารที่มีการปนเปื้อน
  • ภาวะความไม่สมดุลของแบคทีเรีย / จุลินทรีย์ในลำไส้ (Dysbiosis)
  • ยา เช่น ยาแก้อักเสบ ยาลดอาการอักเสบ
  • การแพ้อาหารแบบแฝง (Food Allergy / Insensitivity)

 

ทราบได้อย่างไรว่าเป็น Leaky Gut?

 

โดยทั่วไปแพทย์จะวินิจฉัยจากประวัติและอาการ สำหรับการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อการวินิจฉัยเพิ่มเติม โดยการตรวจ Dual Sugar Technique โดยให้ผู้ถูกตรวจรับประทานน้ำตาล Lactulose และ Mannitol และ เก็บปัสสาวะ 6 ชั่วโมงหลังตรวจ อัตราส่วนของน้ำตาลทั้ง 2 ชนิดจากผลตรวจปัสสาวะจะเป็นตัวแสดงผลว่ามีภาวะลำไส้รั่ว (Leaky Gut) หรือไม่

 

โดยปกติน้ำตาล Lactulose จะไม่ถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้ หรือถูกดูดซึมน้อยมาก ในขณะที่ Mannitol จะถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้ได้ ในผู้ที่มีภาวะลำไส้รั่ว (Leaky Gut) น้ำตาลทั้ง 2 ชนิดจะถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้ได้ในอัตราส่วนที่เปลี่ยนไป

 


 

Leaky Gut เกี่ยวเนื่องกับอาการและโรคอื่นๆ

 

  • ปวดศีรษะเรื้อรัง ไมเกรน (Chronic Headache / Migraines)
  • ท้องอืด ท้องเสีย ท้องผูก (Bloating / Bowel Irregularities)
  • นอนไม่หลับ (Insomnia) วิงเวียนศีรษะ (Foggy Brain) และอาการทางสมองอื่นๆ เช่น หลงลืม อารมณ์แปรปรวน (Poor Concentration / Mood Swing)
  • อ่อนเพลียเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome)
  • ไฟโบรมัยอัลเจีย หรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเรื้อรัง (Fibromyalgia)
  • ภูมิแพ้ (Allergies)
  • ข้ออักเสบ (Inflammatory Joint Disease / Rheumatoid Arthritis)
  • โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน (Autoimmune Disease)
  • ลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome)
  • กลุ่มอาการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (Inflammatory Bowel Disease)
  • ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง (Eczama)

 

ทั้งนี้อาการผิดปกติหรือโรคเหล่านี้ อาจจะเป็นทั้งสาเหตุหรือผลต่อเนื่องของ Leaky Gut ก็ได้

 


 

แนวทางการรักษาและฟื้นฟูภาวะลำไส้รั่ว

 

  1. เริ่มจากกำจัดสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดภาวะลำไส้รั่ว ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เช่น งดอาหารที่ส่งผลต่อการเกิดภูมิแพ้อาหารแบบแฝง หรืออาหารที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อผนังลำไส้ดังที่กล่าวเบื้องต้น
  2. กระตุ้นการทำงานของลำไส้และระบบทางเดินอาหาร เช่น การให้เอนไซม์แก้ไขความไม่สมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ (Dysbiosis)
  3. รักษาภาวะอักเสบของระบบทางเดินอาหาร เช่น การให้วิตามิน กรดอมิโน ที่เหมาะสมเป็นต้น

 


สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก ยินดีให้คำปรึกษาและพร้อมแนะนำโปรแกรมที่เหมาะสมให้แก่คุณ

LINE Official : @arunhealthgarden https://lin.ee/kVkb3zA

โทร : 02-717-4441 หรือ 094-812-7722

www.arunhealthgarden.com

Facebook : Facebook.com/arunhealthgarden

Instagram : https://www.instagram.com/arunhealthgarden/

เปิดบริการวันอังคาร – อาทิตย์

เวลา 09:00 – 18:00

ที่อยู่ : 54/1 ซอยธารารมณ์4 ถนนรามคำแหง9 แขวงพลับพลาเขตวังทองหลางกรุงเทพฯ 10310

 

หมวดหมู่

คลังเก็บ