การกลืนลำบาก สามารถเกิดขึ้นได้ตามความเสื่อมของร่างกายเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ แต่จะพบมากในผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับสมองและระบบประสาท โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ จะมีภาวะกลืนลำบากมากที่สุดถึง 84% รองลงมาคือ ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน 50-82% และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก 65%
สำหรับผู้สูงอายุแล้วต้องยอมรับว่าเป็นวัยที่ระบบต่างๆในร่างกายทำงานช้าลง ยื่งมีอายุมากขึ้นอวัยวะต่างๆในร่างกายก็ยิ่งเสื่อมสภาพ
เริ่มตั้งแต่ช่องปากและฟัน ผู้สูงอายุมักมีปัญหา ฟันโยก หัก มีโรคเหงือก หรือน้ำลายในช่องปากแห้ง ทำให้การเคี้ยวและการกลืนมีปัญหา รวมถึงผู้สูงอายุที่เป็นโรคบางชนิดที่มีปัญหาเรื่องการควบคุมกล้ามเนื้อ การสั่งการของสมองในระหว่างการเคี้ยว หรือการกลืน เช่น พาร์กินสัน อัมพฤกษ์ อัมพาต และสมองเสื่อม ก็เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการสำลักเช่นกัน
เรื่องเล็กๆ แค่สำลักอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ เพราะเมื่อเกิดการสำลัก อาหารหลุดเข้าไปในปอดอาจส่งผลทำให้ปอดติดเชื้อ หรือผู้สูงอายุบางรายสำลักมากๆ จนทำให้เกิดความกลัวการกลืนอาหาร ส่งผลให้ไม่ยอมรับประทานข้าวและนำไปสู่ปัญหาภาวะขาดสารอาหาร
รวมถึงผู้ป่วยบางรายซึ่งเป็นโรคที่มักเกิดอาการสำลักน้ำลายหรือเสมหะ แล้วเข้าไปอุดกลั้นทางเดินหายใจ จนเกิดอาการหายใจล้มเหลวได้
ดังนั้นอย่าปล่อยให้ แค่ “สำลัก” ในผู้สูงอายุ เกิดขึ้นบ่อยจนกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง และทำลายสุขภาพโดยรวม ทำให้เกิดความเสี่ยงการเจ็บป่วยที่รุนแรงตามมา
สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก เวชศาสตร์ฟื้นฟูผสมผสาน | Rehabilitation & Wellness Center | Center for Brain
Line Official : @arunhealthgarden (มีเครื่องหมาย @)
instagram : arunhealthgarden
Tel : 02-717-4441 หรือ 094-812-7722