fbpx

คีเลชั่นบำบัด - Arun Health Garden

สภาพแวดล้อมในปัจจุบันเป็นการง่ายที่เราทุกคน จะได้รับสารพิษไม่ว่าจะเป็นจากอาหารหรือน้ำดื่มที่เรา รับประทานเข้าไป หรือจากมลพิษของสภาพแวดล้อม สำหรับสารพิษที่ร่างกายได้รับนั้นส่วนหนึ่งคือสารกลุ่มโลหะหนัก (Heavy Metal) เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมี่ยม และสารอื่นๆเช่น อาร์เซนิก ซึ่งถ้าได้รับปริมาณจำนวนมาก ก็มักจะมีอาการป่วยชัดเจนที่ต้องรักษาทันท่วงที มักไม่เกิดปัญหากับการวินิจฉัยของแพทย์ แต่ที่มีปัญหาคือผู้ที่ได้รับสารโลหะหนักเหล่านี้ทีละน้อยสะสมอยู่ในร่างกาย และร่างกายไม่สามารถจะขับสารพิษเหล่านี้ออกจากร่างกายได้ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพแอบแฝงต่อหลายระบบของร่างกายโดยที่เราไม่รู้ ทางการแพทย์พบว่าโลหะหนักเหล่านี้จะมีผลเสียต่อขบวนการขจัดอนุมูลอิสระ และการป้องกันการอักเสบและการเสื่อมของเซลในร่างกาย และมีผลทำให้หลายระบบในร่างกายสูญเสียการทำงาน เช่นระบบหัวใจ หลอดเลือด ปอด สมอง ระบบ
ประสาท, ตับ, ไต, ต่อมไร้ท่อ, และกระดูกเป็นต้น

 

 

คีเลชั่นบำบัดคืออะไร

 

คีเลชั่น คือ ขบวนการทางการแพทย์ในการขจัดสารโลหะหนักออกจากร่างกายที่ได้มีการใช้ในทาง การแพทย์มานานหลายสิบปีการรักษาด้วยคีเลชั่นบำบัดจะใช้สารที่มีคุณสมบัติใน การจับสารโลหะหนักและขับออกจากร่างกาย ซึ่งอาจจะใช้การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ การรับประทาน หรือเป็นยาเหน็บ หนึ่งในสารที่นำมาใช้คือสารอีดีทีเอ (EDTA = Ethylene Diamine Tetra-Acetic Acid ) ที่มีคุณสมบัติ ในการจับกับโลหะหนักเช่น ตะกั่ว ปรอท สารหนู แคดเมี่ยม แคลเซี่ยม และโลหะหนักอื่นๆอีกหลายอย่าง โดยขับออกจากร่างกายทางไต(ปัสสาวะ)

 

 

ทราบได้อย่างไรว่ามีโลหะหนักหรือไม่

 

การตรวจทางห้องปฏิบัติการจะช่วยบอกระดับโลหะหนักในร่างกาย ซึ่งอาจจะตรวจได้หลายวิธี เช่น ตรวจเลือด ปัสสาวะ หรือจากเส้นผมหรือขน การทำ Challenge test โดยการตรวจค่าสารโลหะหนักหลังการทำคีเลชั่นทันทีจะช่วยให้การวินิจฉัยว่ามีสารโลหะหนักสะสมหรือไม่ได้ดียิ่งขึ้น

 

 

ใครที่จะได้ประโยชน์จากการทำคีเลชั่น

 

ข้อบ่งชี้ในการทำคีเลชั่นคือการขจัดสารโลหะหนักที่สะสมออกจากร่างกาย จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่าสารโลหะหนักที่สะสมในร่างกายเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับภาวะความผิดปกติจนถึงโรคภัยไข้เจ็บหลายอย่าง เช่น กลุ่มอาการปวดรื้อรัง กลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง โรคหลอดเลือดตีบ ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคที่เกิดเนื่องจากความเสื่อม เช่น พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ ความจำเสื่อม นอกจากนี้คีเลชั่นยังมีการใช้ในการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและชะลอวัยอีกด้วย

 

 

ขั้นตอนการรักษา

 

  1. พบแพทย์ และแพทย์สั่งทำคีเลชั่นตามความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
  2. ก่อน ทำคีเลชั่นบำบัด แพทย์อาจจะสั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการตามความจำเป็น เช่น ดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ค่าการทำงานของไต ค่าโลหะหนักสะสมเป็นต้น
  3. การทำ คีเลชั่นโดยให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ซึ่งมักเป็นหลอดเลือดดำที่บริเวณแขน มักใช้เวลา 2-3 ชั่วโมงต่อครั้ง โดยทั่วไปจำนวน 10-40 ครั้ง สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งในระยะแรก และลดความถี่ลง เช่น เดือนละครั้งอย่างน้อย 6 เดือน ผลดีสุดของการทำคีเลชั่นมักจะใช้เวลาหลายเดือนหลังจากทำครบคอร์สแล้ว

 

 

การปฏิบัติตนก่อนและขณะเข้ารับการรักษา

 

  1. หยุดบุหรี่
  2. ไม่ ควรงดอาหารก่อนมาทำคีเลชั่น เพราะผลดีข้อหนึ่งของคีเลชั่นคือช่วยทำให้ขบวนการนำน้ำตาลไปใช้ของร่างกายดี ขึ้น ดังนั้นอาจจะมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้
  3. ขณะทำคีเลชั่น ถ้ามีอาการผิดปกตื เช่น เพลีย หิว หนาวสั่น ชาบริเวณรอบปากหรือตามมือ เท้า ปวดแสบบริเวณแขนทีให้น้ำเกลือ ให้แจ้งพยาบาลทันที
  4. บางคนอาจจะรู้สึกอ่อนเพลียในการให้คีเลชั่นครั้งแรกๆได้ ซึ่งถือว่าเป็นการตอบสนองที่พบได้ในการรักษา อาการเหล่านี้จะค่อยๆดีขึ้น
  5. บางคนอาจจะมีไข้ หรือผื่นหลังจากทำคีเลชั่นได้ ถ้าเกิดอาการดังกล่าวให้รับประทานน้ำ รับประทานยาแก้ไข้ และแจ้งพยาบาลให้ทราบ
  6. รับประทานอาหารที่ดี และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  7. แพทย์อาจจะสั่งวิตามินเพิ่มเติมตามความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

 

 

การทำคีเลชั่นบำบัดมีความปลอดภัยสูงถ้าอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่ผ่าน การอบรมและเชี่ยวชาญในการทำคีเลชั่นบำบัด สำหรับข้อห้ามในการทำคือ ผู้ที่มีความผิดปกติของไตอย่างมาก ตั้งครรภ์ หรือแพ้สารที่ใช้ในการทำคีเลชั่น

 

 

ส่วนข้อบ่งห้ามที่ชัดเจนในการรักษาคือ

 

ผู้ที่มีประวัติแพ้สารต่างๆที่อยู่ในส่วนประกอบของการทำคีเลชั่น หรือผู้ที่มีไตเสื่อมสภาพอย่างมาก หรือเป็นโรคไตเรื้อรังที่มีการทำงานของไตอยู่ในเกณฑ์ผิดปกติมากหญิงตั้ง ครรภ์

หมวดหมู่

คลังเก็บ