Glycemic Index (GI) หรือค่าดัชนีน้ำตาล คืออะไร?
ค่าดัชนีน้ำตาล เป็นค่าบ่งชี้ระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เคยได้ยินไหมว่าอาหารรสหวานพอๆกัน มีค่าคาร์บโบไฮเดรตพอๆกัน อาจเพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ไม่เท่ากัน
หากรับประทานอาหารที่มีดัชนีไกลซีมิกสูงจะมีคาร์โบไฮเดรตสูง (น้ำตาลและแป้งสูง) และส่งผลให้น้ำตาลกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งค่าดัชนีน้ำตาลในอาหาร เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องควบคุมระดับน้ำตาล โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและโรคเบาหวาน
ที่มาของรูป : https://glycemicindex.com/
แบ่งอาหารตามค่าดัชนีน้ำตาล ได้เป็น 3 ระดับ คือ สูง กลาง และต่ำ โดยเปรียบเทียบกับการย่อยและการดูดซึมของน้ำตาลกลูโคสซึ่งมีค่า GI เท่ากับ 100 หลังรับประทานและเข้าสู่ระบบการย่อยและดูดซึมของร่างกายภายใน 2 ชั่วโมง
- ระดับต่ำ (0 – 55) เช่น นม โยเกิร์ต นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ น้ำมันมะกอก ข้าวกล้อง สตรอว์เบอร์รี แอปเปิล ชมพู่ แก้วมังกร แครอท มะเขือเทศ ข้าวโพด บรอกโคลี ดอกกะหล่ำ มันหวานต้ม เป็นต้น
- ระดับกลาง (56 – 69) เช่น กล้วย สับปะรด ลูกเกด น้ำส้ม น้ำผึ้ง เป็นต้น
- ระดับสูง (70 ขึ้นไป) เช่น ข้าวขัดสี ขนมปังขาว น้ำนมข้าว แตงโม มันฝรั่ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เค้ก คุ้กกี้ ของหวาน ลูกอม และน้ำหวาน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยอีกมากที่มีผลต่อค่าดัชนีน้ำตาลของอาหาร เช่น ชนิดอาหาร ความสุกของผลไม้ วิธีปรุงอาหาร และองค์ประกอบภาพรวมของอาหารอื่นที่กินในมื้อนั้นๆ และที่สำคัญค่าการตอบสนองต่อระดับน้ำตาลในเลือดของแต่ละบุคคล ดังนั้นการควบคุมและเลือกอาหารควรทำไปพร้อมๆ กับการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
ค่าดัชนีน้ำตาลในอาหารกลุ่มต่าง ๆ
ดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index) คือ ค่าที่บอกให้ทราบว่าอาหารที่กินเข้าไปเปลี่ยนเป็นน้ำตาลในเลือด และน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นรวดเร็วเพียงใด อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงนั้นเมื่อเข้าสู่ร่างกาย คารร์โบไฮเดรตจะถุกย่อยและดูดซึมอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงและลดลงอย่างรวดเร็ว ร่างกายจึงต้องการอาหารอื่นเพิ่ม ทำให้รู้สึกหิวบ่อย
- อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (น้อยกว่า 55) ควรเลือกบริโภค
- อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลปานกลาง (55 – 70) เลือกบริโภคพอประมาณ
- อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (มากกว่า 70) เลือกบริโภคแต่น้อย
ที่มา : หนังสืออิ่มอร่อยได้สุขภาพสไตล์เบาหวาน สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมได้ที่ LINE สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก
สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก ยินดีให้คำปรึกษาและพร้อมแนะนำโปรแกรมที่เหมาะสมให้แก่คุณ
สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก เวชศาสตร์ฟื้นฟูผสมผสาน | Rehabilitation & Wellness Center | Center for Brain
Line Official : @arunhealthgarden (มีเครื่องหมาย @) (https://lin.ee/kVkb3zA)
instagram : arunhealthgarden
Tel : 02-717-4441 หรือ 094-812-7722