ไฟโบรมัยอัลเจีย คืออะไร
“ไฟโบรมัยอัลเจีย”(Fibromyalgia) เป็นกลุ่มอาการปวดเรื้อรัง โดยอาการปวดมักจะกระจายหลายแห่งตามร่างกายโดยเฉพาะที่เป็นตำแหน่งของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเนื้อเยื่ออ่อนของร่างกาย บริเวณที่พบว่ามีอาการบ่อยคือ ศีรษะ คอ หลัง บางรายปวดทั้งตัว นอกจากอาการปวดยังอาจมีอาการร่วมอื่นๆได้หลายอาการ ที่พบบ่อยได้แก่อาการอ่อนเพลีย นอนหลับไม่สนิท สมาธิและความจำถดถอย รวมถึงความเครียดและอารมณ์ซึมเศร้า ด้วยการกระจายของตำแหน่งที่มีอาการปวดและความหลากหลายของอาการร่วม บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะถูกส่งตรวจหลายอย่าง และบางครั้งอาจถูกเข้าใจว่าเป็นโรคอื่นๆหลายโรคถ้าผลการตรวจขาดความแม่นยำ ในทางตรงกันข้ามถ้าผลการตรวจไม่ยืนยันถึงความจำเพาะต่ออาการต่างๆที่ก่อปัญหา ผู้ป่วยอาจถูกมองว่าไม่ได้ปวดจริง หรือเป็นปัญหาทางจิตที่คิดไปเอง เหตุการณ์นี้เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ไม่น้อยโดยเฉพาะในสังคมที่ยังไม่คุ้นเคยกับ ไฟโบรมัยอัลเจีย จากการสำรวจในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า ไฟโบรมัยอัลเจีย เป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย ประมาณ 2% ของประชากรมีอาการเข้าได้กับโรคนี้ พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 8 เท่า พบได้ทุกวัย พบมากในวัยกลางคนอายุระหว่าง 35-60 ปี ความรุนแรงของโรคมีความแตกต่างกันในแต่ละราย เช่นอาการปวดมีตั้งแต่ปวดเล็กน้อยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติถึงปวดอย่างมากบางรายปวดเหมือนกล้ามเนื้ออักเสบทั้งตัวและบั่นทอนคุณภาพชีวิต ส่วนอาการร่วมในแต่ละรายก็มีจำนวนและความรุนแรงที่แตกต่าง สำหรับการสำรวจเพื่อค้นหาผู้ป่วย ไฟโบรมัยอัลเจีย ในประชากรกรุงเทพมหานครเมื่อ ปี พ.ศ. 2554 พบว่าอุบัติการณ์ของโรคนี้ชุกชุมน้อยกว่าที่พบในสหรัฐอเมริกา คือพบประมาณ 0.6% ของประชากรกรุงเทพฯ แต่ก็ยังนับว่าเป็นปัญหาที่พบบ่อยในกลุ่มอาการปวดเรื้อรังที่มีลักษณะการกระจายหลายแห่งตามร่างกาย
อะไรคือ สาเหตุของโรคนี้
แต่เดิมเชื่อกันว่าโรคนี้เป็นปัญหาทางจิตเวช ต่อมามีหลักฐานจากการตรวจการทำงานของระบบสมองด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ พบว่าที่มาของอาการเหล่านี้แท้จริงเป็นเรื่องของระบบประสาทส่วนกลางคือสมองและไขสันหลังอยู่ในสภาวะที่ไวต่อการกระตุ้นมากกว่าปกติ โดยเฉพาะไวต่ออาการปวดและความเครียด นอกจากนี้ยังพบว่าสารเคมีในน้ำไขสันหลังที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความปวดและอารมณ์อยู่ในภาวะที่เสียสมดุลในการควบคุมความปวดและอารมณ์ ทำให้มีความไวต่อสิ่งเร้าทุกอย่างง่ายขึ้น เมื่อมีการกระตุ้นด้วยปัจจัยต่างๆไม่ว่าจะเป็นการทำงานของร่างกาย ความเย็น แสง เสียงสัมผัสทางกาย จะทำให้เกิดอาการปวดหรือรำคาญ นอกจากนี้อาจมีอาการแพ้สารเคมีต่างๆ ง่ายมากกว่าคนปกติ ตลอดจนทนต่อแรงกดดันทางจิตใจได้ไม่ดี ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหรือเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ยังไม่ทราบชัดเจน แต่เชื่อกันว่าเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ที่มีหลักฐานน่าเชื่อถือคือปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะนี้ ซึ่งมี 3 ปัจจัยหลัก คือ ร่างกาย จิตใจ และสังคมสิ่งแวดล้อม
- ปัจจัยทางร่างกาย พบว่า ผู้ที่มีประวัติประสบอุบัติเหตรุนแรง โดยเฉพาะต่อระบบสมองและประสาทไขสันหลัง และผู้ที่ขยันและทำงานมาก มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะนี้มากกว่าคนปกติทั่วไป
- ปัจจัยทางจิตใจ พบว่าผู้ที่มีบุคลิกภาพ เจ้าระเบียบ สมบูรณ์แบบ รู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างขาดตกบกพร่อง หรือย้ำคิดย้ำทำ ขาดความมั่นใจกลัวและกังวลจนทำให้รอบคอบมากเกินไป รวมทั้งผู้ที่มีความดื้อรั้นดันทุรัง และผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะนี้ได้มากกว่าประชากรทั่วไปถึงสามเท่า
- ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ปัจจัยนี้มีความสำคัญเพราะนำมาไขข้อสงสัยได้ชัดเจนว่าทำไม ไฟโบรมัยอัลเจีย จึงพบบ่อยกว่ามากในคนเมืองเมื่อเทียบกับชาวชนบท อธิบายได้ง่ายว่าคนเมืองอยู่ในสภาะเร่งรีบและแข่งขันทางเศรษฐกิจสังคมสูงกว่า ชั่วโมงทำงานมากขึ้นเวลาพักผ่อนน้อยลง ส่งผลโยงไปถึงปัจจัยทางกายที่ต้องขยันทำงานมากกว่าด้วยความจำเป็น รวมถึงปัจจัยทางจิตใจที่เคร่งเครียด อีกทั้งสิ่งแวดล้อมของเมืองใหญ่ๆมักจะอยู่ในสภาพมลภาวะส่งผลให้ร่างกายมีภูมิต้านทานลดลงรวมถึงความปวดด้วย
ปัจจัยกระตุ้นเหล่านี้นอกจากเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุแล้วยังมีอิทธิพลต่อความรุนแรงของโรค และผลของการรักษาอย่างชัดเจน
นอกจากปัจจัยกระตุ้นยังมีข้อมูลที่ควรรู้ กล่าวคือ ไฟโบรมัยอัลเจีย เกิดร่วมกับบางโรคหรือบางภาวะได้บ่อยกว่าในคนปกติทั่วไป ที่สำคัญได้แก่ เกิดร่วมกับโรคไมเกรน 22%, โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เอส แอล อี (SLE ที่รู้จักกันในนามของโรคพุ่มพวง) 22%, โรคปวดกล้ามเนื้อมัยโอฟาสเชี่ยล 20%, โรคไขข้ออักเสบ 14%, โรควิตกกังวล 32%, ผู้ที่มีบุคลิกภาพเจ้าระเบียบ ดื้อรั้น ย้ำคิดย้ำทำ 23%, และพบในผู้ที่มีโรคซึมเศร้า 15%
จะรู้และแน่ใจได้อย่างไรว่าอาการที่มีใช่ ไฟโบรมัยอัลเจีย หรือเปล่า
การวินิจฉัยโรคนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอาการ เพราะจนถึงปัจจุบันยังไม่มีการตรวจค้น ทางห้องปฏิบัติการณ์ใดที่มีความจำเพาะกับโรคนี้ อย่างไรก็ตามถ้ามีความสงสัยสามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้จากเครื่องมือคัดกรองการวินิจฉัยโรคนี้ โดยตรวจสอบดัชนีการกระจายของอาการปวดตามร่างกาย (WPI) ร่วมกับประเมินความรุนแรงของอาการต่างๆ (SS) ในแบบฟอร์มการคัดกรองดังต่อไปนี้
การแปลผล จะถือว่าใช่ ไฟโบรมัยอัลเจีย ข้อมูลที่ได้ต้องเข้าได้กับทั้ง 3 ข้อกำหนด ดังนี้
- ดัชนีการกระจายของอาการปวดตามร่างกาย (WPI) > 7 ร่วมกับคะแนนความรุนแรงของอาการ (SS) > 5 หรือดัชนีการกระจายของอาการปวดตามร่างกาย (WPI) อยู่ในช่วง 3-6 ร่วมกับคะแนนความรุนแรงของอาการ (SS) > 9
- มีอาการในระดับใกล้เคียงนี้มาอย่างน้อย 3 เดือน
- ไม่มีภาวะผิดปกติอื่นใดที่จะอธิบายอาการปวดนี้
การวินิจฉัยด้วยวิธีนี้มีความแม่นยำ 88% สำหรับการตรวจค้นทางห้องปฏิบัติการณ์บางอย่างอาจมีความจำเป็นเพื่อวินิจฉัยแยกโรค แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย
ไฟโบรมัยอัลเจีย รักษาอย่างไร?
เนื่องจากความรู้เกี่ยวกับโรคไฟโบรมัยอัลเจียเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่และยังอยู่ในวงจำกัด ความล่าช้าในการวินิจฉัยจึงยังเป็นปัญหาที่พบได้ จากการสำรวจในประเทศไทยพบว่ากว่าก่อนหน้าที่ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไฟโบรมัยอัลเจียมักจะพบแพทย์มาแล้วหลายท่านและโดยเฉลี่ยมีอาการมาแล้วนานกว่า 9 เดือน จึงไม่น่าแปลกใจที่เหตุการเช่นนี้ได้สร้างความสับสน กังวล ท้อแท้ และหวาดกลัว ให้กับผู้ป่วยหลายรายได้อย่างมาก สิ่งแรกของการรักษาและถือว่าสำคัญเหนืออื่นใดจึงเป็นเรื่องการให้ความรู้และข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องไฟโบรมัยอัลเจียกับผู้ป่วย ประเด็นความรู้ที่สำคัญพอสรุปได้ดังนี้
- ผู้ป่วยควรทราบว่าไฟโบรมัยอัลเจียเป็นโรคหรือกลุ่มอาการที่มีเกิดจากสมองและประสาทไขสันหลังอยู่ในสภาวะที่ไวต่อการกระตุ้นมากกว่าปกติ มีระดับของสารเคมีในสมองที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความปวดและอารมณ์อยู่ในภาวะที่เสียสมดุล และปัญหานี้ไม่ก่อให้เกิดความพิการผิดรูปของข้อหรืออัมพฤกอัมพาตดังที่ผู้ป่วยบางท่านกังวล
- ศึกษาและค้นหาปัจจัยกระตุ้นจากร่างกาย จิตใจ และสังคมสิ่งแวดล้อม เพื่อทำการรักษา แก้ไข หรือดัดแปลง
สำหรับการรักษาจะมุ่งเน้นที่อาการซึ่งเป็นปัญหาหลัก ที่พบบ่อยคือ อาการปวด ปัญหาการนอนหลับ ความวิตกกังวลและอารมณ์ซึมเศร้า ผู้ป่วยบางรายรักษาด้วยยาอย่างเดียว บางรายรักษาโดยที่ไม่ใช้ยาเลย ในขณะที่บางรายเป็นการรักษาร่วมกันซึ่งมักจะได้ผลดีกว่าและสามารถลดปริมาณการใช้ยาได้
การรักษาด้วยยา
- ถ้าอาการปวดเป็นปัญหาหลักอย่างเดียว ใช้ยาแก้ปวด ปวดน้อยใช้ยาแก้ปวดสามัญประจำบ้านเช่น พาราเซตามอล (paracetamol) ถ้าปวดมากใช้ยาทรามอล (tramol) ซึ่งเป็นยาในกลุ่มมอร์ฟีนอย่างอ่อน และไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ห้ามใช้ยากลุ่มมอร์ฟีนอื่นๆและกลุ่มสเตียรอยด์ เพราะมักจะสร้างปัญหาเรื่องติดยาและผลแทรกซ้อนในระยะยาว สำหรับยาแก้ปวดกลุ่มที่ต้านการอักเสบหรือมักเรียกกันทั่วไปว่ายากระดูกไม่แนะนำถ้าต้องใช้นานเพราะได้ผลน้อยมากไม่คุ้มกับปัญหาอาการแทรกซ้อน ยกเว้นผู้ป่วยมีอาการอักเสบร่วมอยู่ด้วยก็อาจจำเป็น
- ถ้าปัญหาหลักคืออาการปวดการนอนหลับและวิตกกังวลร่วมกัน นิยมใช้ยากันชักรุ่นใหม่ ฟังแล้วไม่ต้องตกใจหรือสงสัยว่ารักษาผิด เพราะยากลุ่มนี้ เช่น กาบาเพนติน (gabapentin), พรีกาบาลิน (pregabalin) มีคุณสมบัติในการลดความไวของเซลล์สมองและประสาทไขสันหลัง
- ถ้าปัญหาหลักคืออาการปวด การนอนหลับ วิตกกังวลและซึมเศร้าร่วมกัน นิยมใช้ยาต้านเศร้าในการรักษา เช่นกันครับที่ไม่ได้สั่งยาผิดและไม่ได้คิดเป็นอื่นหาว่าเป็นโรคจิต เพราะยากลุ่มนี้หลายตัวมีคุณสมบัติทางเคมีในการลดความไวของเซลล์ประสาทเช่นกัน ตัวอย่างเช่น อะมิทริปไทรีน (amitriptyline), ดูล็อกซิทีน (duloxetine), มิลนาซิพลาน(milnacipran)
การรักษาที่ไม่ใช้ยา
การรักษาที่ไม่ใช่ยามีหลายอย่าง และเช่นเดียวกับกรณีของยาที่แนวทางการเลือกใช้อาศัยอาการเป็นตัวชี้แนะ อีกทั้งการรักษาบางอย่างมีผลดีต่อหลายอาการ ที่มีการศึกษาอย่างกว้างขวาง ได้แก่
- การออกกำลังกาย มีหลายรูปแบบ เช่น ออกกำลังแบบแอโรบิกช่วยลดอาการอ่อนเพลีย ทำให้ปัญหาการนอนหลับและสมรรถภาพร่างกายดีขึ้น แต่ต้องเริ่มทีละน้อยเพราะกล้ามเนื้อไวต่อการปวดยอก การออกกำลังกายในสระน้ำโดยเฉพาะน้ำอุ่นพบชัดเจนว่าช่วยลดปัญหาปวดยอกกล้ามเนื้อจากการออกกำลังได้ดี สำหรับโยคะ รำมวยจีน ช่วยลดอาการปวดเมื่อย ความเครียด และเสริมสร้างสมาธิ
- การนวด ช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ช่วยให้ผ่อนคลายลดความเครียด นอนหลับสบายขึ้น ถือเป็นการรักษาเสริมที่สะดวกในการเข้าถึงสำหรับประเทศไทย
- การฝังเข็ม ช่วยลดอาการปวดและปัญหาการนอนหลับ
- ฝึกสมาธิ นอกจากช่วยลดอาการปวดจากการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาททำให้ความไวของเซลล์ประสาทลดลง ยังให้ผลดีมากในการลดอาการเครียด ส่งเสริมสมาธิในการทำงานนับว่าสอดคล้องกับวิถีชาวพุทธ
การรักษาโดยยาและไม่ใช่ยาที่กล่าวมานี้ จะมีผลในการลดความไวของระบบประสาทส่วนกลางและช่วยในการปรับสมดุลสารเคมีในน้ำไขสันหลังและโพรงสมองที่เกี่ยวกับอารมณ์และความปวด ด้วยกลไกที่แตกต่างกัน
ประเด็นสำคัญคือ ไม่ว่าจะเป็นยาหรือการรักษาที่ไม่ใช่ยาควรเริ่มทีละน้อย เพื่อลดหรือป้องกันผลข้างเคียงจากยา เช่น ง่วงนอน คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ ใจสั่น กระวนกระวาย และผลข้างเคียงของการรักษาที่ไม่ใช่ยา เช่น อาการระบมจากการออกกำลังกาย การนวดที่รุนแรงมากไป หรือฝังเข็ม ต่อมาจึงค่อยๆปรับให้เหมาะสมตามการเปลี่ยนแปลงของอาการ
นอกจากนี้ยังมีการรักษาใหม่ๆที่มีการกล่าวถึง ได้แก่ การรักษาด้วยออกซิเจนเข้มข้นในห้องหรือแคปซูลที่มีความกดดันสูง (hyperbaric oxygen therapy) การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ (laser therapy) ตามตำแหน่งที่มีอาการปวด การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (transcortical magnetic stimulation) สำหรับบทสรุปของผลการรักษายังไม่สามารถอ้างอิงได้ชัดเจน สืบเนื่องมาจากข้อมูลการศึกษายังไม่เพียงพอในขณะนี้
การรักษาทางเลือก
ไฟโบรมัยอัลเจีย เป็นโรคที่ผู้ป่วยนิยมใช้การแพทย์ทางเลือกร่วมในการรักษามากที่สุดโรคหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น การนวดแผนโบราณ การฝังเข็ม โฮมีโอพาธี
รักษาแล้วหายขาดหรือเปล่า
ปัจจุบันความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง ไฟโบรมัยอัลเจีย มีมากขึ้น ทำให้ผลการรักษาได้ผลดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องอาศัยความร่วมมือและความมานะอดทนจากทั้งผู้ป่วยและแพทย์เพราะส่วนใหญ่การเปลี่ยนแปลงของการดำเนินโรคจะเป็นไปอย่างช้าๆ ถ้าจะเปรียบเทียบให้เข้าใจง่าย ผลการรักษาโรคนี้ก็ไม่แตกต่างจากกรณีของโรคไมเกรน ถ้าปรับยาได้เหมาะสม ผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงหรือรับมือกับปัจจัยกระตุ้นต่างๆได้อย่างดี อาการก็สงบและอยู่ได้อย่างปกติสุข บางรายสามารถหยุดยาได้ สำหรับไฟโบรมัยอัลเจียพบว่าเมื่อติดตามผลการรักษาเป็นเวลา 2 ปี สามารถทำให้โรคสงบหรือไม่มีอาการได้ถึง 24%, ดีขึ้นจนอาการและความรุนแรงลดลงถึงระดับที่ไม่เข้าข่ายว่าเป็นไฟโบรมัยอัลเจียแล้ว 47%, และมีเพียง 10-25% ที่ยังมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ
สาเหตุสำคัญของความล้มเหลวในการรักษา คือ ความไม่เข้าใจในอาการต่างๆอันนำมาซึ่งความสับสน ความวิตกกังวล ความกลัวและท้อแท้ที่ทำให้อาการต่างๆลุกลามจนไม่สามารถควบคุมได้นั่นเอง
ข้อควรรู้ที่มีประโยชน์
- ไฟโบรมัยอัลเจีย วินิจฉัยได้เร็ว การรักษาได้ผลดี วินิจฉัยล่าช้ารักษาได้แต่ต้องใช้เวลานานขึ้น
- หัดสังเกตุเพื่อค้นหาปัจจัยกระตุ้น เป็นการบ้านที่มีประโยชน์ต่อผลการรักษา อย่างมากในผู้ป่วยเกือบทุกราย
- บ่อยครั้งที่ความวิตกกังวล ความกลัว ความสับสนและความใจร้อน ตลอดจนความท้อแท้ ของผู้ป่วย ไฟโบรมัยอัลเจีย เป็นปัญหาที่รักษายากกว่าอาการปวดของตัวโรคเอง
- ไฟโบรมัยอัลเจีย หลายรายหายได้และอยู่อย่างมีคุณภาพชีวิตด้วยการแก้ไขปัจจัยกระตุ้น โดยมีความเข้าใจและทักษะการเรียนรู้ในการควบคุมอาการต่างๆเป็นหัวใจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการรักษา
Arun Health Garden Clinic มีทีมแพทย์และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่มากด้วยประสบการณ์ในการดูแลรักษาปัญหาปวดเรื้อรัง Fibromyalgia อย่างครบวงจร เพรียบพร้อมด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือในการรักษา รวมถึงการตรวจพิเศษเพื่อให้ทราบถึงระดับพลังงานที่ไหลเวียนในร่างกายด้วยเครื่อง BEM เพื่อค้นหาความผิดปกติในการทำงานของระบบต่างๆของอวัยวะภายใน และการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยการออกกำลังในสระน้ำอุ่นโดยครูฝึกประจำตัว
รศ.นพ.ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช
ไฟโบรมัยอัลเจีย คืออะไร
“ไฟโบรมัยอัลเจีย”(Fibromyalgia) เป็นกลุ่มอาการปวดเรื้อรัง โดยอาการปวดมักจะกระจายหลายแห่งตามร่างกายโดยเฉพาะที่เป็นตำแหน่งของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเนื้อเยื่ออ่อนของร่างกาย บริเวณที่พบว่ามีอาการบ่อยคือ ศีรษะ คอ หลัง บางรายปวดทั้งตัว นอกจากอาการปวดยังอาจมีอาการร่วมอื่นๆได้หลายอาการ ที่พบบ่อยได้แก่อาการอ่อนเพลีย นอนหลับไม่สนิท สมาธิและความจำถดถอย รวมถึงความเครียดและอารมณ์ซึมเศร้า ด้วยการกระจายของตำแหน่งที่มีอาการปวดและความหลากหลายของอาการร่วม บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะถูกส่งตรวจหลายอย่าง และบางครั้งอาจถูกเข้าใจว่าเป็นโรคอื่นๆหลายโรคถ้าผลการตรวจขาดความแม่นยำ ในทางตรงกันข้ามถ้าผลการตรวจไม่ยืนยันถึงความจำเพาะต่ออาการต่างๆที่ก่อปัญหา ผู้ป่วยอาจถูกมองว่าไม่ได้ปวดจริง หรือเป็นปัญหาทางจิตที่คิดไปเอง เหตุการณ์นี้เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ไม่น้อยโดยเฉพาะในสังคมที่ยังไม่คุ้นเคยกับ ไฟโบรมัยอัลเจีย จากการสำรวจในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า ไฟโบรมัยอัลเจีย เป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย ประมาณ 2% ของประชากรมีอาการเข้าได้กับโรคนี้ พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 8 เท่า พบได้ทุกวัย พบมากในวัยกลางคนอายุระหว่าง 35-60 ปี ความรุนแรงของโรคมีความแตกต่างกันในแต่ละราย เช่นอาการปวดมีตั้งแต่ปวดเล็กน้อยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติถึงปวดอย่างมากบางรายปวดเหมือนกล้ามเนื้ออักเสบทั้งตัวและบั่นทอนคุณภาพชีวิต ส่วนอาการร่วมในแต่ละรายก็มีจำนวนและความรุนแรงที่แตกต่าง สำหรับการสำรวจเพื่อค้นหาผู้ป่วย ไฟโบรมัยอัลเจีย ในประชากรกรุงเทพมหานครเมื่อ ปี พ.ศ. 2554 พบว่าอุบัติการณ์ของโรคนี้ชุกชุมน้อยกว่าที่พบในสหรัฐอเมริกา คือพบประมาณ 0.6% ของประชากรกรุงเทพฯ แต่ก็ยังนับว่าเป็นปัญหาที่พบบ่อยในกลุ่มอาการปวดเรื้อรังที่มีลักษณะการกระจายหลายแห่งตามร่างกาย
อะไรคือ สาเหตุของโรคนี้
แต่เดิมเชื่อกันว่าโรคนี้เป็นปัญหาทางจิตเวช ต่อมามีหลักฐานจากการตรวจการทำงานของระบบสมองด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ พบว่าที่มาของอาการเหล่านี้แท้จริงเป็นเรื่องของระบบประสาทส่วนกลางคือสมองและไขสันหลังอยู่ในสภาวะที่ไวต่อการกระตุ้นมากกว่าปกติ โดยเฉพาะไวต่ออาการปวดและความเครียด นอกจากนี้ยังพบว่าสารเคมีในน้ำไขสันหลังที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความปวดและอารมณ์อยู่ในภาวะที่เสียสมดุลในการควบคุมความปวดและอารมณ์ ทำให้มีความไวต่อสิ่งเร้าทุกอย่างง่ายขึ้น เมื่อมีการกระตุ้นด้วยปัจจัยต่างๆไม่ว่าจะเป็นการทำงานของร่างกาย ความเย็น แสง เสียงสัมผัสทางกาย จะทำให้เกิดอาการปวดหรือรำคาญ นอกจากนี้อาจมีอาการแพ้สารเคมีต่างๆ ง่ายมากกว่าคนปกติ ตลอดจนทนต่อแรงกดดันทางจิตใจได้ไม่ดี ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหรือเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ยังไม่ทราบชัดเจน แต่เชื่อกันว่าเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ที่มีหลักฐานน่าเชื่อถือคือปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะนี้ ซึ่งมี 3 ปัจจัยหลัก คือ ร่างกาย จิตใจ และสังคมสิ่งแวดล้อม
- ปัจจัยทางร่างกาย พบว่า ผู้ที่มีประวัติประสบอุบัติเหตรุนแรง โดยเฉพาะต่อระบบสมองและประสาทไขสันหลัง และผู้ที่ขยันและทำงานมาก มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะนี้มากกว่าคนปกติทั่วไป
- ปัจจัยทางจิตใจ พบว่าผู้ที่มีบุคลิกภาพ เจ้าระเบียบ สมบูรณ์แบบ รู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างขาดตกบกพร่อง หรือย้ำคิดย้ำทำ ขาดความมั่นใจกลัวและกังวลจนทำให้รอบคอบมากเกินไป รวมทั้งผู้ที่มีความดื้อรั้นดันทุรัง และผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะนี้ได้มากกว่าประชากรทั่วไปถึงสามเท่า
- ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ปัจจัยนี้มีความสำคัญเพราะนำมาไขข้อสงสัยได้ชัดเจนว่าทำไม ไฟโบรมัยอัลเจีย จึงพบบ่อยกว่ามากในคนเมืองเมื่อเทียบกับชาวชนบท อธิบายได้ง่ายว่าคนเมืองอยู่ในสภาะเร่งรีบและแข่งขันทางเศรษฐกิจสังคมสูงกว่า ชั่วโมงทำงานมากขึ้นเวลาพักผ่อนน้อยลง ส่งผลโยงไปถึงปัจจัยทางกายที่ต้องขยันทำงานมากกว่าด้วยความจำเป็น รวมถึงปัจจัยทางจิตใจที่เคร่งเครียด อีกทั้งสิ่งแวดล้อมของเมืองใหญ่ๆมักจะอยู่ในสภาพมลภาวะส่งผลให้ร่างกายมีภูมิต้านทานลดลงรวมถึงความปวดด้วย
ปัจจัยกระตุ้นเหล่านี้นอกจากเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุแล้วยังมีอิทธิพลต่อความรุนแรงของโรค และผลของการรักษาอย่างชัดเจน
นอกจากปัจจัยกระตุ้นยังมีข้อมูลที่ควรรู้ กล่าวคือ ไฟโบรมัยอัลเจีย เกิดร่วมกับบางโรคหรือบางภาวะได้บ่อยกว่าในคนปกติทั่วไป ที่สำคัญได้แก่ เกิดร่วมกับโรคไมเกรน 22%, โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เอส แอล อี (SLE ที่รู้จักกันในนามของโรคพุ่มพวง) 22%, โรคปวดกล้ามเนื้อมัยโอฟาสเชี่ยล 20%, โรคไขข้ออักเสบ 14%, โรควิตกกังวล 32%, ผู้ที่มีบุคลิกภาพเจ้าระเบียบ ดื้อรั้น ย้ำคิดย้ำทำ 23%, และพบในผู้ที่มีโรคซึมเศร้า 15%
จะรู้และแน่ใจได้อย่างไรว่าอาการที่มีใช่ ไฟโบรมัยอัลเจีย หรือเปล่า
การวินิจฉัยโรคนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอาการ เพราะจนถึงปัจจุบันยังไม่มีการตรวจค้น ทางห้องปฏิบัติการณ์ใดที่มีความจำเพาะกับโรคนี้ อย่างไรก็ตามถ้ามีความสงสัยสามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้จากเครื่องมือคัดกรองการวินิจฉัยโรคนี้ โดยตรวจสอบดัชนีการกระจายของอาการปวดตามร่างกาย (WPI) ร่วมกับประเมินความรุนแรงของอาการต่างๆ (SS) ในแบบฟอร์มการคัดกรองดังต่อไปนี้
การแปลผล จะถือว่าใช่ ไฟโบรมัยอัลเจีย ข้อมูลที่ได้ต้องเข้าได้กับทั้ง 3 ข้อกำหนด ดังนี้
- ดัชนีการกระจายของอาการปวดตามร่างกาย (WPI) > 7 ร่วมกับคะแนนความรุนแรงของอาการ (SS) > 5 หรือดัชนีการกระจายของอาการปวดตามร่างกาย (WPI) อยู่ในช่วง 3-6 ร่วมกับคะแนนความรุนแรงของอาการ (SS) > 9
- มีอาการในระดับใกล้เคียงนี้มาอย่างน้อย 3 เดือน
- ไม่มีภาวะผิดปกติอื่นใดที่จะอธิบายอาการปวดนี้
การวินิจฉัยด้วยวิธีนี้มีความแม่นยำ 88% สำหรับการตรวจค้นทางห้องปฏิบัติการณ์บางอย่างอาจมีความจำเป็นเพื่อวินิจฉัยแยกโรค แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย
ไฟโบรมัยอัลเจีย รักษาอย่างไร?
เนื่องจากความรู้เกี่ยวกับโรคไฟโบรมัยอัลเจียเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่และยังอยู่ในวงจำกัด ความล่าช้าในการวินิจฉัยจึงยังเป็นปัญหาที่พบได้ จากการสำรวจในประเทศไทยพบว่ากว่าก่อนหน้าที่ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไฟโบรมัยอัลเจียมักจะพบแพทย์มาแล้วหลายท่านและโดยเฉลี่ยมีอาการมาแล้วนานกว่า 9 เดือน จึงไม่น่าแปลกใจที่เหตุการเช่นนี้ได้สร้างความสับสน กังวล ท้อแท้ และหวาดกลัว ให้กับผู้ป่วยหลายรายได้อย่างมาก สิ่งแรกของการรักษาและถือว่าสำคัญเหนืออื่นใดจึงเป็นเรื่องการให้ความรู้และข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องไฟโบรมัยอัลเจียกับผู้ป่วย ประเด็นความรู้ที่สำคัญพอสรุปได้ดังนี้
- ผู้ป่วยควรทราบว่าไฟโบรมัยอัลเจียเป็นโรคหรือกลุ่มอาการที่มีเกิดจากสมองและประสาทไขสันหลังอยู่ในสภาวะที่ไวต่อการกระตุ้นมากกว่าปกติ มีระดับของสารเคมีในสมองที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความปวดและอารมณ์อยู่ในภาวะที่เสียสมดุล และปัญหานี้ไม่ก่อให้เกิดความพิการผิดรูปของข้อหรืออัมพฤกอัมพาตดังที่ผู้ป่วยบางท่านกังวล
- ศึกษาและค้นหาปัจจัยกระตุ้นจากร่างกาย จิตใจ และสังคมสิ่งแวดล้อม เพื่อทำการรักษา แก้ไข หรือดัดแปลง
สำหรับการรักษาจะมุ่งเน้นที่อาการซึ่งเป็นปัญหาหลัก ที่พบบ่อยคือ อาการปวด ปัญหาการนอนหลับ ความวิตกกังวลและอารมณ์ซึมเศร้า ผู้ป่วยบางรายรักษาด้วยยาอย่างเดียว บางรายรักษาโดยที่ไม่ใช้ยาเลย ในขณะที่บางรายเป็นการรักษาร่วมกันซึ่งมักจะได้ผลดีกว่าและสามารถลดปริมาณการใช้ยาได้
การรักษาด้วยยา
- ถ้าอาการปวดเป็นปัญหาหลักอย่างเดียว ใช้ยาแก้ปวด ปวดน้อยใช้ยาแก้ปวดสามัญประจำบ้านเช่น พาราเซตามอล (paracetamol) ถ้าปวดมากใช้ยาทรามอล (tramol) ซึ่งเป็นยาในกลุ่มมอร์ฟีนอย่างอ่อน และไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ห้ามใช้ยากลุ่มมอร์ฟีนอื่นๆและกลุ่มสเตียรอยด์ เพราะมักจะสร้างปัญหาเรื่องติดยาและผลแทรกซ้อนในระยะยาว สำหรับยาแก้ปวดกลุ่มที่ต้านการอักเสบหรือมักเรียกกันทั่วไปว่ายากระดูกไม่แนะนำถ้าต้องใช้นานเพราะได้ผลน้อยมากไม่คุ้มกับปัญหาอาการแทรกซ้อน ยกเว้นผู้ป่วยมีอาการอักเสบร่วมอยู่ด้วยก็อาจจำเป็น
- ถ้าปัญหาหลักคืออาการปวดการนอนหลับและวิตกกังวลร่วมกัน นิยมใช้ยากันชักรุ่นใหม่ ฟังแล้วไม่ต้องตกใจหรือสงสัยว่ารักษาผิด เพราะยากลุ่มนี้ เช่น กาบาเพนติน (gabapentin), พรีกาบาลิน (pregabalin) มีคุณสมบัติในการลดความไวของเซลล์สมองและประสาทไขสันหลัง
- ถ้าปัญหาหลักคืออาการปวด การนอนหลับ วิตกกังวลและซึมเศร้าร่วมกัน นิยมใช้ยาต้านเศร้าในการรักษา เช่นกันครับที่ไม่ได้สั่งยาผิดและไม่ได้คิดเป็นอื่นหาว่าเป็นโรคจิต เพราะยากลุ่มนี้หลายตัวมีคุณสมบัติทางเคมีในการลดความไวของเซลล์ประสาทเช่นกัน ตัวอย่างเช่น อะมิทริปไทรีน (amitriptyline), ดูล็อกซิทีน (duloxetine), มิลนาซิพลาน(milnacipran)
การรักษาที่ไม่ใช้ยา
การรักษาที่ไม่ใช่ยามีหลายอย่าง และเช่นเดียวกับกรณีของยาที่แนวทางการเลือกใช้อาศัยอาการเป็นตัวชี้แนะ อีกทั้งการรักษาบางอย่างมีผลดีต่อหลายอาการ ที่มีการศึกษาอย่างกว้างขวาง ได้แก่
- การออกกำลังกาย มีหลายรูปแบบ เช่น ออกกำลังแบบแอโรบิกช่วยลดอาการอ่อนเพลีย ทำให้ปัญหาการนอนหลับและสมรรถภาพร่างกายดีขึ้น แต่ต้องเริ่มทีละน้อยเพราะกล้ามเนื้อไวต่อการปวดยอก การออกกำลังกายในสระน้ำโดยเฉพาะน้ำอุ่นพบชัดเจนว่าช่วยลดปัญหาปวดยอกกล้ามเนื้อจากการออกกำลังได้ดี สำหรับโยคะ รำมวยจีน ช่วยลดอาการปวดเมื่อย ความเครียด และเสริมสร้างสมาธิ
- การนวด ช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ช่วยให้ผ่อนคลายลดความเครียด นอนหลับสบายขึ้น ถือเป็นการรักษาเสริมที่สะดวกในการเข้าถึงสำหรับประเทศไทย
- การฝังเข็ม ช่วยลดอาการปวดและปัญหาการนอนหลับ
- ฝึกสมาธิ นอกจากช่วยลดอาการปวดจากการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาททำให้ความไวของเซลล์ประสาทลดลง ยังให้ผลดีมากในการลดอาการเครียด ส่งเสริมสมาธิในการทำงานนับว่าสอดคล้องกับวิถีชาวพุทธ
การรักษาโดยยาและไม่ใช่ยาที่กล่าวมานี้ จะมีผลในการลดความไวของระบบประสาทส่วนกลางและช่วยในการปรับสมดุลสารเคมีในน้ำไขสันหลังและโพรงสมองที่เกี่ยวกับอารมณ์และความปวด ด้วยกลไกที่แตกต่างกัน
ประเด็นสำคัญคือ ไม่ว่าจะเป็นยาหรือการรักษาที่ไม่ใช่ยาควรเริ่มทีละน้อย เพื่อลดหรือป้องกันผลข้างเคียงจากยา เช่น ง่วงนอน คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ ใจสั่น กระวนกระวาย และผลข้างเคียงของการรักษาที่ไม่ใช่ยา เช่น อาการระบมจากการออกกำลังกาย การนวดที่รุนแรงมากไป หรือฝังเข็ม ต่อมาจึงค่อยๆปรับให้เหมาะสมตามการเปลี่ยนแปลงของอาการ
นอกจากนี้ยังมีการรักษาใหม่ๆที่มีการกล่าวถึง ได้แก่ การรักษาด้วยออกซิเจนเข้มข้นในห้องหรือแคปซูลที่มีความกดดันสูง (hyperbaric oxygen therapy) การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ (laser therapy) ตามตำแหน่งที่มีอาการปวด การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (transcortical magnetic stimulation) สำหรับบทสรุปของผลการรักษายังไม่สามารถอ้างอิงได้ชัดเจน สืบเนื่องมาจากข้อมูลการศึกษายังไม่เพียงพอในขณะนี้
การรักษาทางเลือก
ไฟโบรมัยอัลเจีย เป็นโรคที่ผู้ป่วยนิยมใช้การแพทย์ทางเลือกร่วมในการรักษามากที่สุดโรคหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น การนวดแผนโบราณ การฝังเข็ม โฮมีโอพาธี
รักษาแล้วหายขาดหรือเปล่า
ปัจจุบันความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง ไฟโบรมัยอัลเจีย มีมากขึ้น ทำให้ผลการรักษาได้ผลดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องอาศัยความร่วมมือและความมานะอดทนจากทั้งผู้ป่วยและแพทย์เพราะส่วนใหญ่การเปลี่ยนแปลงของการดำเนินโรคจะเป็นไปอย่างช้าๆ ถ้าจะเปรียบเทียบให้เข้าใจง่าย ผลการรักษาโรคนี้ก็ไม่แตกต่างจากกรณีของโรคไมเกรน ถ้าปรับยาได้เหมาะสม ผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงหรือรับมือกับปัจจัยกระตุ้นต่างๆได้อย่างดี อาการก็สงบและอยู่ได้อย่างปกติสุข บางรายสามารถหยุดยาได้ สำหรับไฟโบรมัยอัลเจียพบว่าเมื่อติดตามผลการรักษาเป็นเวลา 2 ปี สามารถทำให้โรคสงบหรือไม่มีอาการได้ถึง 24%, ดีขึ้นจนอาการและความรุนแรงลดลงถึงระดับที่ไม่เข้าข่ายว่าเป็นไฟโบรมัยอัลเจียแล้ว 47%, และมีเพียง 10-25% ที่ยังมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ
สาเหตุสำคัญของความล้มเหลวในการรักษา คือ ความไม่เข้าใจในอาการต่างๆอันนำมาซึ่งความสับสน ความวิตกกังวล ความกลัวและท้อแท้ที่ทำให้อาการต่างๆลุกลามจนไม่สามารถควบคุมได้นั่นเอง
ข้อควรรู้ที่มีประโยชน์
- ไฟโบรมัยอัลเจีย วินิจฉัยได้เร็ว การรักษาได้ผลดี วินิจฉัยล่าช้ารักษาได้แต่ต้องใช้เวลานานขึ้น
- หัดสังเกตุเพื่อค้นหาปัจจัยกระตุ้น เป็นการบ้านที่มีประโยชน์ต่อผลการรักษา อย่างมากในผู้ป่วยเกือบทุกราย
- บ่อยครั้งที่ความวิตกกังวล ความกลัว ความสับสนและความใจร้อน ตลอดจนความท้อแท้ ของผู้ป่วย ไฟโบรมัยอัลเจีย เป็นปัญหาที่รักษายากกว่าอาการปวดของตัวโรคเอง
- ไฟโบรมัยอัลเจีย หลายรายหายได้และอยู่อย่างมีคุณภาพชีวิตด้วยการแก้ไขปัจจัยกระตุ้น โดยมีความเข้าใจและทักษะการเรียนรู้ในการควบคุมอาการต่างๆเป็นหัวใจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการรักษา
Arun Health Garden Clinic มีทีมแพทย์และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่มากด้วยประสบการณ์ในการดูแลรักษาปัญหาปวดเรื้อรัง Fibromyalgia อย่างครบวงจร เพรียบพร้อมด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือในการรักษา รวมถึงการตรวจพิเศษเพื่อให้ทราบถึงระดับพลังงานที่ไหลเวียนในร่างกายด้วยเครื่อง BEM เพื่อค้นหาความผิดปกติในการทำงานของระบบต่างๆของอวัยวะภายใน และการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยการออกกำลังในสระน้ำอุ่นโดยครูฝึกประจำตัว
รศ.นพ.ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจสุขภาพได้ที่ LINE สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก
สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก ยินดีให้คำปรึกษาและพร้อมแนะนำโปรแกรมที่เหมาะสมให้แก่คุณ
สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก เวชศาสตร์ฟื้นฟูผสมผสาน | Rehabilitation & Wellness Center | Center for Brain
Line Official : @arunhealthgarden (มีเครื่องหมาย @) (https://lin.ee/kVkb3zA)
instagram : arunhealthgarden
Tel : 02-717-4441 หรือ 094-812-7722