ในปี ค.ศ. 2009 ได้มีการค้นพบกลไกการป้องกันบริเวณปลายของโครโมโซมไม่ให้ถูกทำลาย ซึ่งเรียกว่า เทโลเมียร์ (Telomere) โดยจะทำหน้าที่สำคัญในการปกป้องส่วนปลายของโครโมโซม และยังค้นพบเอนไซม์เทโลเมอเรส (Telomerase) เป็นเอนไซม์ที่ช่วยต่อเติมความยาว และซ่อมแซมเทโลเมียร์ให้เป็นปกติ นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบ คือ Elizabeth H. Blackburn, Carol W. Greider และ Jack W. Szostak ในการค้นพบครั้งนี้ทำให้พวกเขาได้รับรางวัลโนเบลทางการแพทย์
เทโลเมียร์ที่สั้นลงเป็นตัวบ่งบอกถึงสัญญาณของความแก่ หรือความเจ็บป่วย โดยเมื่อมีการแบ่งตัวของเซลล์จะทำให้เทโลเมียร์สั้นลง เมื่อยิ่งสั้นมาก จะทำให้เกิดการเสื่อมและเกิดการตายของเซลล์ เป็นที่มาของความเสื่อมของสุขภาพ และความยาวของเทโลเมียร์ยังมีความสัมพันธ์กับอายุร่างกาย หรือ biological age เช่น บางคนอายุจริง 40 ปี แต่พบว่าอายุเซลล์มากถึง 60 ปี และบางคนอายุ 60 ปี แต่กลับมีอายุเซลล์แค่ 50 ปี เป็นต้น
การออกกำลังกาย เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความยาวของเทโลเมียร์ โดยมีการศึกษาเปรียบเทียบการออกกำลังกายแบบแอโรบิคและการออกกำลังกายแบบมีแรงต้านต่อความยาวของเทโลเมียร์ โดยพบว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิคทำให้มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความยาวเทเลเมียร์ หรือ Telomerase activity เพิ่มขึ้นภายใน 24 ชม. หลังการออกกำลังกาย แต่ไม่พบในการออกกำลังแบบมีแรงต้าน และได้ทำการศึกษาต่อเนื่อง โดยให้ออกกำลังกายต่อเนื่อง 3 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นระยะเวลา 6 เดือน พบว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิคทำให้ความยาวของเทโลเมียร์เพิ่มขึ้น แต่ในกลุ่มการออกกำลังแบบมีแรงต้านไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นสรุปได้ว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิก ทำให้ Telomerase activity เพิ่มขึ้นในระยะเฉียบพลัน และมีผลทำให้เพิ่มความยาวของเทโลเมียร์ได้ในระยะยาว และมีการศึกษาความหนักของการออกกำลังกาย ต่อความยาวของเทโลเมียร์ พบว่า การออกกำลังกายที่ความหนักปานกลาง และหนัก ทำให้ความยาวของเทโลเมียร์มากกว่าการออกกำลังกายที่ความหนักน้อย
ดังนั้น การออกกำลังกายที่ช่วยชะลอวัย หรือการออกกำลังกายที่สามารถเพิ่มความยาวของเทโลเมียร์ นั้นคือ การออกกำลังกายแบบแอโรบิคและการออกกำลังกายที่ความหนักปานกลางและหนักนั้นเอง
ฟัง HEALTH GARDEN PODCAST เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทโลเมียร์
เอกสารอ้างอิง
Lin, Xiufang & Zhou, Jianghua & Dong, Birong. (2019). Effect of different levels of exercise on telomere length: A systematic review and meta-analysis. Journal of Rehabilitation Medicine. 51. 10.2340/16501977-2560.
Christian M Werner, Anne Hecksteden, Arne Morsch, Joachim Zundler, Melissa Wegmann, Jürgen Kratzsch, Joachim Thiery, Mathias Hohl, Jörg Thomas Bittenbring, Frank Neumann, Michael Böhm, Tim Meyer, Ulrich Laufs, Differential effects of endurance, interval, and resistance training on telomerase activity and telomere length in a randomized, controlled study, European Heart Journal, Volume 40, Issue 1, 01 January 2019, Pages 34–46, https://doi.org/10.1093/eurheartj/ehy585
สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก ยินดีให้คำปรึกษาและพร้อมแนะนำโปรแกรมที่เหมาะสมให้แก่คุณ
LINE Official : @arunhealthgarden https://lin.ee/kVkb3zA
โทร : 02-717-4441 หรือ 094-812-7722
Facebook : Facebook.com/arunhealthgarden
Instagram : https://www.instagram.com/arunhealthgarden/
เปิดบริการวันอังคาร – อาทิตย์
เวลา 09:00 – 18:00
ที่อยู่ : 54/1 ซอยธารารมณ์4 ถนนรามคำแหง9 แขวงพลับพลาเขตวังทองหลางกรุงเทพฯ 10310