EECP หรือ Enhanced External Counter Pulsation
เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีการใช้รักษาผู้ป่วยมานานกว่า 50 ปี โดยเริ่มจากการรักษาคนไข้เจ็บหน้าอกจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและพัฒนาจนปัจจุบัน EECP ได้มีการนำมาใช้ได้กว้างขวางมากขึ้นนอกเหนือไปจากรักษาโรคหัวใจ
EECP ทำงานอย่างไร ?
ผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วย EECP จะนอนบนเตียงที่มีเครื่องปั๊มลมเข้าสู่แผ่นรัดที่บริเวณสะโพกและขาทั้ง 2 ข้าง โดยการปั๊มลมเข้าและออกแผ่นรัดจะเข้ากับจังหวะการเต้นของหัวใจ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะติดเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) เพื่อให้การทำงานของเครื่องประสานกันเป็นอย่างดี การบีบของแผ่นรัดจะบีบไล่เลือดจากปลายขา ต้นขา และสะโพก ตามลำดับ เพื่อทำให้เลือดไหลกลับไปหัวใจได้ดีขึ้น ลักษณะการทำงานดังกล่าวคล้ายๆ กับการออกกำลังกาย เช่น การวิ่ง แต่เป็น passive exercise คือไม่ต้องออกแรงเอง
จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า EECP มีผลดีต่อหัวใจและหลอดเลือดคล้ายคลึงกับผลดีของการออกกำลังกาย เช่น ลดอาการ เจ็บหน้าอกหรือเหนื่อยจากโรคหัวใจขาดเลือด เพิ่มสมรรถภาพการทำงานของร่างกาย เพิ่มปริมาณหลอดเลือดฝอย / การสร้างหลอดเลือดใหม่ ผนังหลอดเลือดทำงานได้ดีขึ้น มีผลลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเลือด และเพิ่มเลือดไปเลี้ยงตามอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย เช่น สมอง ไต เป็นต้น
ข้อควรทราบก่อนเข้ารับการรักษาด้วย EECP
หลังจากพบแพทย์แล้วผู้ป่วยอาจจะต้องมีตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจอัลตราซาวน์ช่องท้อง เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีหลอดเลือดในท้องโป่งพองขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นข้อห้ามของการรักษาด้วย EECP หรือตรวจอัลตราซาวน์หัวใจในผู้ป่วยโรคหัวใจ เพื่อประเมินสภาวะการทำงานและพยาธิสภาพของหัวใจ เป็นต้น
ระยะเวลาในการเข้ารับการรักษา
การรักษาด้วย EECP ควรทำต่อเนื่องอย่างน้อย 10-35 ครั้ง ตามที่แพทย์สั่งการรักษา โดยทั่วไปใช้เวลาครั้งละ 1 ชั่วโมง 1-2 ครั้งต่อวัน
- สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า ผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วย EECP 80% จะมีอาการดีขึ้นหลังทำการรักษาต่อเนื่อง 35 ครั้ง (1 คอร์ส) และในกลุ่มที่มีอาการดีขึ้นนี้ประมาณ 70% อาการที่ดีขึ้นจะคงดีอยู่นาน 2-5 ปี
- สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาสมอง เช่น หลอดเลือดสมองตีบ พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ แนะนำให้รักษาต่อเนื่อง 1-2 คอร์ส
- สำหรับผู้ที่มีปัญหาอื่นๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศแนะนำให้ทำการรักษาอย่างน้อย 20 ครั้ง
ผู้ที่ดีขึ้นจากการรักษาด้วย EECP ควรทำ maintenance treatment คือแนะนำให้ทำการรักษาต่อเนื่องถ้าหลังการรักษาคอร์สแรกแล้วอาการดีขึ้น โดยอาจทำได้หลายรูปแบบตามที่แพทย์แนะนำ เช่น 1 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือทำซ้ำ 1 คอร์สทุกปี เป็นต้นผลข้างเคียงจากการรักษา เช่น ผื่น หรือปวดจากแรงบีบของแผ่นรัด ในผู้ป่วยโรคหัวใจต้องระวังภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น จึงควรทำภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมได้ที่ LINE สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก
สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก ยินดีให้คำปรึกษาและพร้อมแนะนำโปรแกรมที่เหมาะสมให้แก่คุณ
สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก เวชศาสตร์ฟื้นฟูผสมผสาน | Rehabilitation & Wellness Center | Center for Brain
Line Official : @arunhealthgarden (มีเครื่องหมาย @) (https://lin.ee/kVkb3zA)
instagram : arunhealthgarden
Tel : 02-717-4441 หรือ 094-812-7722