แม้เราจะไม่สามารถฟื้นฟูเซลล์สมองที่เสียหายไปแล้วได้ แต่เราสามารถสร้างส่วนเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทที่เรียกกันว่า ไซแนปส์ (synapse) เพิ่มได้ ซึ่งการเพิ่มจำนวนไซแนปส์จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความจำ สมาธิ การวางแผน การตัดสินใจ ความเร็วในประมวลผล ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความสามารถของสมองที่เราเรียกว่า ‘neuroplasticity’
โรคสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุดอย่าง ‘โรคอัลไซเมอร์’ นอกจากจะพบว่ามีการตายของเซลล์ประสาทแล้ว ยังพบว่าจำนวนไซแนปส์เหล่านี้มีจำนวนลดลงอีกด้วย! หากเราสามารถเพิ่มจำนวนไซแนปส์ ก็จะทำให้กระบวนการคิดและการรับรู้ดีขึ้น (cognitive function) เพิ่มความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้
ที่สวนสุขภาพอรุณ เรามุ่งเน้นการจัดการกับปัจจัยที่เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อม ทั้งการอักเสบ ภาวะดื้ออินซูลิน สารพิษฯ ร่วมกับการสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมให้เหมาะสมกับการสร้างไซแนปส์ เพื่อป้องกันและรักษาผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ ด้วยกระบวนการต่อไปนี้
1.โภชนาการ
โภชนาการที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นในการมีสุขภาพดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม การรับประทานอาหารที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ มีสารอาหารที่จำเป็นที่ช่วยฟื้นฟูและซ่อมแซมเซลล์สมอง สามารถช่วยป้องกันและชะลอภาวะสมองเสื่อมได้
ขั้นตอนการรักษาประกอบด้วย : การประเมินการรับประทานอาหาร ภาวะโภชนาการ และออกแบบรูปแบบการทานอาหารที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละรายโดยแพทย์และนักกำหนดอาหาร
2. การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายช่วยเพิ่มปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เพิ่มปริมาณ BDNF (Brain-derived neurotrophic factor) หรือโปรตีนที่ช่วยปกป้องเซลล์สมอง และกระตุ้นการสร้างไซแนปส์ การออกกำลังยังช่วยให้ร่างกายใช้ออกซิเจนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดความเครียด เพิ่มคุณภาพการนอนหลับ ควบคุมน้ำหนัก เพิ่มความไวของเซลล์ต่ออินซูลิน ทำให้สุขภาพโดยรวมและสุขภาพสมองดีขึ้นได้
ในผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวและข้อกำจัดด้านร่างกายบางประการ ควรมีบุคคลากรทางการแพทย์ดูแลใกล้ชิดในช่วงเริ่มต้นของการออกกำลังกาย
3.การนอนหลับ
“การนอนหลับที่ดีควรนอนอย่างน้อยวันละ 7-9 ชั่วโมง”
การนอนหลับมีความสำคัญต่อการพัฒนาความจำ และการทำงานของระบบขับสารพิษในสมอง ซึ่งช่วยกำจัดโปรตีน เช่น อไมลอยด์-เบต้า (amyloid-beta) นอกจากนี้การนอนหลับยังมีส่วนช่วยในการทำงานโดยรวมของร่างกาย ช่วยลดการอักเสบและเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
ในผู้สูงอายุสามารถพบภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ค่อนข้างบ่อย เป็นภาวะที่เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองเสื่อม โดยภาวะนี้สามารถตรวจคัดกรองได้จากการวัดออกซิเจนในเลือดขณะนอนหลับ
4.การจัดการความเครียด
ความเครียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเครียดเรื้อรัง อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม แม้ว่าความเครียดจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราก็สามารถเรียนรู้ที่จะจัดการและรับมือกับความเครียดได้
การฝึกจัดการกับความเครียดในแต่ละวันสามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น การเจริญสติ การทำสมาธิ ฝึกการหายใจ โยคะ รวมถึงการมีเวลาดูแลตัวเอง หลีกเลี่ยงการทำงานมากเกินไป รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลัง และนอนหลับอย่างเพียงพอ
5.ฝึกกระตุ้นสมอง
เราต่างทราบกันดีกว่าการออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น และหากไม่ได้มีการออกกำลังกายกล้ามเนื้อก็จะไม่แข็งแรง สมองของเราก็เช่นกัน เราสามารถพัฒนาทักษะการคิด การตัดสินใจ สมาธิ และความจำผ่านการออกกำลังสมอง การกระตุ้นสมองสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การร่วมกิจกรรมทางสังคม การเรียนรู้สิ่งใหม่-ภาษาใหม่ หรือการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการกระตุ้นการพัฒนาสมองและชะลอภาวะสมองเสื่อม
6.การกำจัดสารพิษ
การหลีกเลี่ยงสารพิษที่ส่งผลต่อการการทำงานของสมอง ไม่ว่าจะเป็นพิษโลหะหนัก มลพิษในอากาศ PM2.5 ควันรถยนต์ ควันบุหรี่ แอลกอฮอล์ ฯลฯ เป็นส่วนสำคัญในการทำให้สุขภาพสมองดี การตรวจวัดระดับสารพิษโลหะหนัก และระดับสารต้านอนุมูลอิสระ จะช่วยให้เราสามารถประเมินและวางแผนการรักษาได้อย่างถูกจุด เช่น การทำฟาสติ้ง การเสริมกลูธาไทโอน รวมไปถึงคีเลชั่นหากมีข้อบ่งชี้
7.อาหารเสริมและโภชนเภสัช (Nutraceuticals)
อาหารเสริมไม่ได้จำเป็นสำหรับทุกคน แต่ในคนบางกลุ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไปในการขาดสารอาหาร ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากความอยากอาหารที่ลดลง การรับรู้รสเปลี่ยนแปลงไป กรดในกระเพาะอาหารลดลงทำให้การดูดซึมวิตามินบางชนิด เช่น บี 12 ทำได้ไม่ดีเหมือนเดิม มีโรคประจำตัวหรือรับประทานยาบางชนิดที่อาจรบกวนการดูดซึมสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ สิ่งเหล่านี้อาจนำไปสู่ภาวะขาดสารอาหาร และส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม รวมไปถึงสุขภาพสมองได้ ในกรณีนี้อาหารเสริมจะมีส่วนสำคัญอย่างมากในการรักษา
อัลไซเมอร์เป็นโรคที่เกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน ซึ่งแต่ละคนมีปัจจัยที่ทำให้เกิดอัลไซเมอร์ไม่เหมือนกัน ดังน้ัน การป้องกันหรือรักษาอัลไซเมอร์จึงเป็น Multifactorial คือ ควรจัดการกับปัจจัยที่เป็นสาเหตุของแต่ละบุคคล ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่เป็นเรื่องที่ต้องตรวจหาเฉพาะบุคคล (Personalized Medicine) การให้ยาตัวเดียวแล้วหวังให้ผู้ป่วยดีขึ้นจากโรคนี้จึงเป็นไปไม่ได้
ในปัจจุบัน แม้ยังไม่มีวิธีรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายขาด แต่ก็มีการรักษาที่ยังสามารถช่วยให้อาการดีขึ้น ชะลอการดำเนินของโรค และปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ที่ได้รับผลกระทบได้
แต่ถึงแม้จะมีการรักษา…โรคอัลไซเมอร์ก็ยังเป็นภาวะที่ซับซ้อน รวมไปถึงประสิทธิภาพของการรักษาอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล สิ่งสำคัญคือต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพเพื่อพัฒนาแผนการรักษาส่วนบุคคลที่ตรงกับความต้องการของผู้ป่วย
ที่สวนสุขภาพอรุณมีทีมสหวิชาชีพทั้งแพทย์ พยาบาล นักกำหนดอาหาร นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด และนักจิตวิทยา ที่พร้อมให้คำปรึกษา ดูแล ช่วยกันวางแผนและออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคล เพื่อให้การดูแลรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุด
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมได้ที่ LINE สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก
สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก ยินดีให้คำปรึกษาและพร้อมแนะนำโปรแกรมที่เหมาะสมให้แก่คุณ
สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก เวชศาสตร์ฟื้นฟูผสมผสาน | Rehabilitation & Wellness Center | Center for Brain
Line Official : @arunhealthgarden (มีเครื่องหมาย @) (https://lin.ee/kVkb3zA)
instagram : arunhealthgarden
Tel : 02-717-4441 หรือ 094-812-7722