เมื่อเป็นโรคพาร์กินสันกัน แล้วจะรักษาอย่างไร
ปัจจุบันนี้แม้ว่าการรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัดนั้นยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ชี้ชัดว่าสามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ ดังนั้นการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะแรกๆของโรคจะช่วยชะลออาการของโรคและทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น
สำหรับการรักษาสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยคือ “ฟื้นฟูกายภาพบำบัด” เป็นการรักษาที่สำคัญทั้งในด้านการรักษาที่ครอบคลุมในทุกด้าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย เช่น ปัญหาการเคลื่อนไหว การกลืน การพูด การเขียน เป็นต้น
ในที่นี้จะพาไปทำความรู้จักกับการฟื้นฟูกายภาพบำบัดที่มีการนำมาใช้กับผู้ป่วยพาร์กินสันทั้งในด้านโครงสร้างและการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ และการพูดที่ผิดปกติ ชื่อว่า โปรแกรมกระตุ้นการเคลื่อนไหวสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน (AHG Parkinson’s Program)
โปรแกรมกระตุ้นการเคลื่อนไหวสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน (AHG Parkinson Program)
โปรแกรมกระตุ้นการเคลื่อนไหวสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน (AHG Parkinson Program) เป็นโปรแกรมการฝึกที่ออกแบบมาเพื่อกระตุ้นการเคลื่อนไหวสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสันโดยเฉพาะ ซึ่งโปรแกรมนี้มุ่งหวังในการกระตุ้นการทำงานของสมองเป็นหลัก (Neuroplasticity) และยังมีการปรับปรุงการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยให้ดีขึ้น โดยการออกกำลังกายที่เน้นเพิ่มระดับของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการช่วยกระตุ้นกระบวนการสร้างเซลล์ประสาท และสามารถช่วยลดการตายของเซลล์ที่บริเวณที่ผลิตสารโดปามีน (Dopamine) ที่เป็นต้นเหตุของโรคพาร์กินสัน
จุดเด่นของโปรแกรม
- การผสมผสานหลากหลายโปรแกรมที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และได้ผลดีสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน: โปรแกรมนี้ผสมผสานและนำเอาความรู้และประสบการณ์จากโปรแกรมต่างๆ ที่ได้รับการวิจัยและพัฒนาขึ้นเพื่อดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน ซึ่งเป็นหลักในการออกแบบโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมในการใช้กับผู้ป่วยพาร์กินสัน
- ผสมผสานแนวคิดของโปรแกรม LSVT BIG & LOUD: เป็นโปรแกรมที่ถูกคิดค้นและทำการวิจัยในประเทศอเมริกา โดยนักกายภาพบำบัดและนักกิจกรรมบำบัดที่ได้รับใบรับรองและสอบขึ้นทะเบียนแล้ว ทางสวนสุขภาพอรุณได้ใช้โปรแกรมนี้ เป็นที่แรกในเมืองไทย ได้ที่นำเสนอและนำไปใช้กับผู้ป่วยพาร์กินสัน และเสริมสร้างความมั่นใจในประสิทธิภาพของโปรแกรม
- การทำกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดที่เฉพาะเจาะจงแต่ละบุคคล: โปรแกรมนี้ให้ความสำคัญในการแยกแยะและตรวจสอบสภาพร่างกายและสภาพจิตใจของผู้ป่วยพาร์กินสัน จากนั้นจึงกำหนดกิจกรรมและการฝึกที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพสมรรถภาพทางกาย และกระตุ้นสมองผ่านทางกาย ซึ่งอาจประกอบด้วยการออกกำลังกาย การเพิ่มความมั่นใจในการเคลื่อนไหว การเปล่งเสียง การเขียน การกลืน และกิจกรรมที่กระตุ้นสมองในด้านต่างๆ
- การวิเคราะห์และบำบัดความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว: โปรแกรมนี้มุ่งเน้นการวิเคราะห์และบำบัดความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน การตรวจสอบและประเมินความผิดปกติเหล่านี้ช่วยให้โปรแกรมสามารถปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในการกระตุ้นการเคลื่อนไหวได้
โปรแกรมกระตุ้นการเคลื่อนไหวสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน เปรียบเสมือนการปฏิวัติด้านการฟื้นฟูผู้ป่วยพาร์กินสัน โดยมีการฟื้นฟูกายภาพบำบัดด้วยแนวคิดที่แตกต่างไปจากเดิม โดยโปรแกรมไม่ใช่แค่การทำกายภาพบำบัดหรือกิจกรรมบำบัดที่แค่ออกกำลังแขนและขาเพื่อแก้อาการเกร็งของผู้ป่วยพาร์กินสันเท่านั้น แต่การรักษาในแบบฉบับเฉพาะ ของ AHG เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ คือ กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชื่อมต่อของเซลล์สมอง (Neuroplasticity) ผลที่ตามมาเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนไหว การทํากิจกรรมต่างๆ เช่น เดินได้เร็วขึ้น มีการพัฒนาการทรงตัวดีขึ้น ช่วยเพิ่มองศาการหมุนของลําตัว รวมถึงพัฒนาการทํากิจกรรมในชีวิตประจําวัน เช่น การเคลื่อนไหวบนเตียง การแต่งตัว การเข้าสังคมดีขึ้นตามลำดับ
โปรแกรมกระตุ้นการเคลื่อนไหวสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน เป็นการฝึกด้วยแบบแผนใหม่ๆ และทำซ้ำๆ อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยปรับโปรแกรมสมองของผู้ป่วยพาร์กินสันให้เกิดการเรียนรู้ ลดภาวะการสูญเสียสารสื่อประสาทโดปามีน และช่วยฟื้นฟูการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาท ซึ่งตรงนี้สำคัญที่สุดและถือเป็นการปฎิวัติการฟื้นฟูกายภาพผู้ป่วยพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสัน คือ อะไร
โรคพาร์กินสัน เป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาทที่พบได้บ่อยรองจากโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งโรคพาร์กินสันเกิดจากการเสื่อมของเซลล์ในก้านสมองส่วนที่เรียกว่า basal ganglia ซึ่งส่งผลต่อการหลั่งสารสื่อประสาทชนิด dopamine ลดลง ทำให้เกิดอาการผิดปกติของร่างกายหลายด้านด้วยกัน ทั้งอาการที่เกี่ยวกับความผิดปกติด้านการเคลื่อนไหว และอาการผิดปกติอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
10 อาการที่พบได้บ่อยของผู้ป่วยพาร์กินสัน คือ
- อาการสั่นที่มือหรือขา ลักษณะคล้ายปั้นลูกกลอน มักเป็นขณะอยู่เฉยๆ และอาการลดน้อยลงเมื่อมีการใช้งานแขนหรือมือ
- การเคลื่อนไหวที่ช้ากว่าปกติ และเคลื่อนไหวลำบาก มีอาการแข็งเกร็งของร่างกาย มีช่วงจังหวะของการเคลื่อนไหวที่แคบลง เช่น เดินก้าวสั้นๆ แกว่งแขนสั้นลงหรือไม่แกว่งแขนเลย
- มีความผิดปกติด้านโครงสร้างร่างกายในลักษณะหลังค่อม ตัวงอโค้งไปด้านหน้า ลำตัวเอียง
- มีปัญหาด้านการพูด พูดช้าลง พูดเสียงค่อย สื่อสารลำบาก พูดลำบาก ติดอ่าง กลืนลำบาก สำลักง่ายขึ้นกว่าเดิม
- เขียนหนังสือช้า เขียนตัวเล็กลง
- การแสดงออกทางสีหน้าน้อยลงหรือเฉยเมย เช่น ไม่ยิ้ม ไม่กะพริบตา ทำหน้าเฉยเมย
- การดมกลิ่นและการรับรสเสีย
- มักมีอาการมึนงง หน้ามืด เหมือนจะเป็นลม โดยเฉพาะเวลาเปลี่ยนท่าทาง เช่น จากนั่งเป็นยืน
- อาการท้องผูก ถ่ายไม่ออก ท้องอืด
- นอนไม่หลับ หลับไม่เต็มที่
นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆที่พบได้ เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า เห็นภาพหลอน ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะค่อยๆ ปรากฏขึ้นมาโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัวและหาสาเหตุไม่ได้ ซึ่งกว่าจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคพาร์กินสัน ก็อาจทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคนี้มาแล้วกว่า 5-10 ปี
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก
สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก ยินดีให้คำปรึกษาและพร้อมแนะนำโปรแกรมที่เหมาะสมให้แก่คุณ
สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก เวชศาสตร์ฟื้นฟูผสมผสาน | Rehabilitation & Wellness Center | Center for Brain
Line Official : @arunhealthgarden (มีเครื่องหมาย @) (https://lin.ee/kVkb3zA)
instagram : arunhealthgarden
Tel : 02-717-4441 หรือ 094-812-7722