Low FODMAPs Diet
การรับประทานอาหารกลุ่ม Low FODMAPs ช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ อย่างท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก และท้องเสีย ซึ่งเป็นอาการเรื้อรังที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS) และภาวะแบคทีเรียในลำไส้เล็กไม่สมดุล (Small Intestinal Bacterial Overgrowth: SIBO)
FODMAPs นั้นเป็นตัวย่อของ Fermentable Oligosaccharides, Disaccharides, Monosaccharides, and Polyols ซึ่งประกอบด้วยชนิดของน้ำตาลต่างๆ ดังนี้
- Oligosaccharides (โอลิโกแซ็กคาไรด์)
ได้แก่ ฟรุกแทน (Fructans) และกาแลคโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ (Galacto-oligosaccharides หรือ GOS) - Disaccharides (ไดแซ็กคาไรด์)
ได้แก่ มอลโทส (Maltose) และ แลคโตส (Lactose) - Monosaccharides (มอนอแซ็กคาไรด์)
ได้แก่ ฟรุกโตส (Fructose) - Polyols (โพลีออล) หรือน้ำตาลแอลกอฮอล์
ได้แก่ ซอร์บิทอล (Sorbitol) และ แมนนิทอล (Mannitol)
Oligosaccharides
หลีกเลี่ยง : หน่อไม้ฝรั่ง บีทรูท บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี กระเทียม ต้นหอม หอมใหญ่ ถั่วลันเตา หอมแดง ธัญพืชที่มีกลูเตน ถั่วเลนทิล ถั่วแดง ถั่วลูกไก่ แตงโม น้อยหน่า เงาะ ลูกพลับ
รับประทานได้ : หน่อไม้ แครอท เซลเลอรี่ พริกหวาน กวางตุ้ง ข้าวโพด มะเขือม่วง ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว กุยช่าย หัวไช้เท้า ฟักทอง มะเขือเทศ
แลกโตส
หลีกเลี่ยง : นมวัว นมแพะ นมแกะ รวมถึงผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต ไอศกรีม ชีส
รับประทานได้ : นมปราศจากแลกโตส นมข้าว โยเกิร์ตปราศจากแลกโตส เนย
ฟรุกโตส
หลีกเลี่ยง : แอปเปิ้ล ลูกแพร์ ลูกพีช มะม่วง แตงโม ผลไม้กระป๋องในน้ำผลไม้ น้ำผึ้ง น้ำเชื่อมฟรุกโตส น้ำผลไม้เข้มข้น ผลไม้แห้ง
รับประทานได้ : กล้วย บลูเบอร์รี่ มะเฟือง ทุเรียน เกรปฟรุต องุ่น แตงไทย กีวี มะนาว เลมอน ส้ม เสาวรส ราสเบอร์รี่ มะละกอ แคนตาลูป สตรอว์เบอร์รี่ น้ำเชื่อมเมเปิ้ล น้ำตาลเทียมทุกชนิดยกเว้นน้ำตาลแอลกอฮอล์
น้ำตาลแอลกอฮอล์
หลีกเลี่ยง : แอปเปิ้ล แอปปริคอต เชอร์รี่ ลิ้นจี่ ลองกอง แพร์ พีช พลัม พรุน แตงโม อะโวคาโด ดอกกะหล่ำ เห็ด น้ำตาลเทียมที่เป็นน้ำตาลแอลกออฮอล์ทุกชนิด
รับประทานได้ : กล้วย บลูเบอร์รี่ มะเฟือง ทุเรียน เกรปฟรุต องุ่น แตงไทย กีวี เลมอน มะนาว ส้ม เสาวรส มะละกอ ราสเบอร์รี่ แคนตาลูป น้ำตาลทราย น้ำตาลเทียมชนิดอื่นที่ไม่ใช่น้ำตาลแอลกอฮอล์
References:
- Iacovou, M., Tan, V., Muir, J. G., & Gibson, P. R. (2015). The low FODMAP diet and its application in East and Southeast Asia. Journal of neurogastroenterology and motility, 21(4), 459.
- Whelan, K., Martin, L. D., Staudacher, H. M., & Lomer, M. C. (2018). The low FODMAP diet in the management of irritable bowel syndrome: an evidence‐based review of FODMAP restriction, reintroduction and personalisation in clinical practice. Journal of human nutrition and dietetics, 31(2), 239-255.
- https://www.gastroconsa.com/patient-education/irritable-bowel-syndrome/low-fodmap-diet/
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมได้ที่ LINE สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก
สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก ยินดีให้คำปรึกษาและพร้อมแนะนำโปรแกรมที่เหมาะสมให้แก่คุณ
สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก เวชศาสตร์ฟื้นฟูผสมผสาน | Rehabilitation & Wellness Center | Center for Brain
Line Official : @arunhealthgarden (มีเครื่องหมาย @) (https://lin.ee/kVkb3zA)
instagram : arunhealthgarden
Tel : 02-717-4441 หรือ 094-812-7722