fbpx

การออกกำลังกายช่วยรักษาอัลไซเมอร์ - Arun Health Garden

 

การรักษาอัลไซเมอร์ในปัจจุบันมักเน้นไปที่การใช้ยาและการฝึกสมอง (cognitive training) ซึ่งเป็นวิธีที่เจาะจงไปที่กลไกเดียว เช่น การใช้ยาเพื่อเพิ่มสารสื่อประสาท acetylcholine ในสมอง หรือฝึกการทำงานเฉพาะด้านของสมอง เช่น ความจำ หรือการตัดสินใจ (executive function) ซึ่งแม้ว่าจะมีประโยชน์ แต่ก็ยังช่วยส่งเสริมความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL) และคุณภาพชีวิตได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ในทางตรงกันข้าม การออกกำลังกายมีศักยภาพสูงในการรักษาและป้องกันโรคอัลไซเมอร์ โดยการออกกำลังกายเพื่อรักษาอัลไซเมอร์มี 3 รูปแบบที่สำคัญได้แก่ การออกกำลังกายแบบแอโรบิก (Aerobic exercise) การออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน (Resistance exercise) และการฝึกจิตใจและร่างกาย (Mind-body exercise) ซึ่งทั้ง 3 รูปแบบมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการทำงานของสมอง และช่วยชะลอหรือป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้

1) Aerobic exercise
การออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ หรือขี่จักรยาน มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง ซึ่งจะนำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์สมองอย่างเพียงพอ นอกจากนี้การออกกำลังกายชนิดนี้ยังช่วยกระตุ้นการสร้าง BDNF (Brain-Derived Neurotrophic Factor) ซึ่งเป็นสารที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาของเซลล์ประสาท การเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท (synaptic plasticity) และการปรับตัวของสมอง (neuroplasticity) และเพิ่ม mitochondrial function ทำให้สมองมีพลังงานเพียงพอในการทำงาน ซึ่งล้วนแล้วแต่ช่วยทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้น

2) Resistance exercise
การออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน เช่น การยกน้ำหนัก มีบทบาทสำคัญในการรักษาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวัน ช่วยป้องกันโรคร่วมที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เช่น กล้ามเนื้อน้อย (sarcopenia) กระดูกพรุน (osteoporosis) และการหกล้ม นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการหลั่งสาร BDNF และ growth hormone ซึ่งช่วยในการฟื้นฟูเซลล์ประสาท

การออกกำลังกายแบบนี้ยังถือว่าเป็นกิจกรรมที่ซับซ้อน (complex task) ที่ต้องใช้ทักษะหลายด้าน เช่น การประสานงานระหว่างส่วนต่างๆ ของร่างกาย สมาธิ การตัดสินใจ และความจำ ซึ่งช่วยกระตุ้นสมองในลักษณะที่คล้ายกับ cognitive training

3) Mind-body exercise
การออกกำลังกายที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างจิตใจและร่างกาย เช่น โยคะ ไทเก๊ก หรือการทำสมาธิ (meditation) มีประโยชน์ในด้านการลดความเครียด การปรับปรุงการนอนหลับ และการลดความกังวล ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโรคของโรคอัลไซเมอร์ การออกกำลังกายประเภทนี้ยังช่วยส่งเสริมการทำงานของสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์ ช่วยลดปัญหาภาวะซึมเศร้าและปัญหาพฤติกรรมในผู้ป่วยสมองเสื่อม

กล่าวได้ว่า การออกกำลังกายไม่ได้เพียงแค่ป้องกันและรักษาอัลไซเมอร์ผ่านกลไกใดกลไกหนึ่งหมือนยา แต่มันสามารถทำงานผ่านหลายเส้นทางพร้อมกัน เสมือนกับการใช้ยาหลายชนิดที่ส่งเสริมกันและกัน (polypill) ส่งผลให้สมองแข็งแรงขึ้นในระยะยาว และที่สำคัญคือช่วยให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


 


สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมได้ที่ LINE สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก

เพิ่มเพื่อน

 


 

สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก ยินดีให้คำปรึกษาและพร้อมแนะนำโปรแกรมที่เหมาะสมให้แก่คุณ

LINE Official : @arunhealthgarden https://lin.ee/kVkb3zA

โทร : 02-717-4441 หรือ 094-812-7722

www.arunhealthgarden.com

Facebook : Facebook.com/arunhealthgarden

Instagram : https://www.instagram.com/arunhealthgarden/

เปิดบริการวันอังคาร – อาทิตย์

เวลา 09:00 – 18:00

ที่อยู่ : 54/1 ซอยธารารมณ์4 ถนนรามคำแหง9 แขวงพลับพลาเขตวังทองหลางกรุงเทพฯ 10310

หมวดหมู่

คลังเก็บ