อัลไซเมอร์เป็นโรคที่ไม่มียารักษาให้หายขาด แม้จะมีการศึกษาและงานวิจัยมากมายเป็นเวลามากกว่า 30 ปีเพื่อหายารักษาแต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ และด้วยความที่โลกของเรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2050 อาจมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้น 2-3 เท่าทั่วโลก
โรคอัลไซเมอร์ไม่ได้เพียงส่งผลกระทบโดยตรงต่อความทรงจำและการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบกับครอบครัว ผู้ดูแล และสังคมเป็นวงกว้างอีกด้วย
ใครมีความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์บ้าง?
– ผู้สูงอายุที่มีอายุเกินกว่า 65 ปี (แต่อย่างไรก็ตามอัลไซเมอร์สามารถเกิดได้ตั้งแต่อายุประมาณ 40 ปี)
– ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรม เช่น มียีน ApoE4 อาจมีความเสี่ยงในการเกิดอัลไซเมอร์สูงกว่าคนปกติถึง 8-10 เท่า
– ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นอัลไซเมอร์ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคตั้งแต่อายุยังน้อย
– ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุทางศีรษะและสมอง
– ผู้ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมอง
– ผู้ที่มีภาวะอ้วน มีโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในหลอดเลือด
– ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
– ผู้ที่มีโรคซึมเศร้าที่ไม่ได้รับการดูแลรักษา
– ผู้ที่มีภาวะโดดเดี่ยวทางสังคม (social isolation)
– ผู้ที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง ขาดการขยับร่างกาย (sedentary lifestyle)
การป้องกันตั้งแต่ยังไม่มีอาการ หรือระยะต้นๆที่อาการไม่รุนแรงจึงเป็นเรื่องสำคัญ จะช่วยรักษาประสิทธิภาพการทำงานของสมองเอาไว้ และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ได้
ต้องการปรึกษาปัญหาสุขภาพสมอง หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมฟื้นฟูโรคอัลไซเมอร์ได้ที่ LINE สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก
สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก ยินดีให้คำปรึกษาและพร้อมแนะนำโปรแกรมที่เหมาะสมให้แก่คุณ
สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก เวชศาสตร์ฟื้นฟูผสมผสาน | Rehabilitation & Wellness Center | Center for Brain
Line Official : @arunhealthgarden (มีเครื่องหมาย @) (https://lin.ee/kVkb3zA)
instagram : arunhealthgarden
Tel : 02-717-4441 หรือ 094-812-7722