ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจ คำว่า โรคมะเร็ง (Cancer) กันก่อนนะครับ โรคนี้เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติที่สารพันธุกรรมหรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ DNA ซึ่งส่งผลให้การทำงานของอวัยวะนั้นๆ ผิดปกติ
[1] จากสถิติพบว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประเทศไทยอีกด้วย [2] สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งมักจะมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น อ่อนเพลีย ออ่นล้าง่าย มีอาการเจ็บปวด รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะจิตใจ ฯลฯ วิธีหนึ่งที่ได้ผลค่อนข้างดี ในการลดหรือชะลอภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว คือ การออกกำลังกายอย่างถูกวิธี เช่น “การออกกำลังกายในสระน้ำอุ่น” ประโยชน์ของการออกกำลังกายในสระน้ำอุ่นสำหรับผู้ป่วยมะเร็งนั้น เห็นได้ชัดเจนมาก เนื่องจาก น้ำ มีคุณสมบัติพิเศษต่างๆ มากมาย คือ
- มีแรงลอยตัวและแรงดันน้ำเป็นตัวช่วยพยุงร่างกายลดความเสี่ยงต่อการล้มได้ดี
- ช่วยลดแรงกระทำต่อข้อต่อ มี
- ความหนืดช่วยเป็นแรงต้านเพื่อเพิ่มความแข็งแรง
- กระแสน้ำอุ่นยังช่วยเพิ่มระบบไหลเวียนของเลือด
- ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย
[3] ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรออกกำลังกายเป็นประจำ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และต่อเนื่องกันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ จะช่วยลดอาการเจ็บปวดที่เกิดจากโรคมะเร็ง พร้อมทั้งลดจุดกดเจ็บที่เกิดขึ้นได้ [4] อีกทั้งยังช่วยลดอาการล้าได้ดี เพิ่มความทนทานความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและกล้ามเนื้อหน้าท้อง และที่สำคัญที่สุดคือช่วยปรับสภาวะทางอารมณ์ของผู้ป่วยให้ดีขึ้นด้วย [5,6]
“การออกกำลังกายในสระน้ำอุ่นจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งได้”
นายจีระชัย ใสสอด นักกายภาพบำบัด สวนสุขภาพอรุณสหคลินิก
————————————————————
เอกสารอ้างอิง:
- นายแพทย์วีราวุฒิ อิ่มสำราสญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ
- สถิติผู้ป่วยมะเร็ง กระทรวงสาธารณสุข
- ผศ.ดร.ประภาส โพธิ์ทองสุนันท์ ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทลัยเชียงใหม่
- Cantarero-Villanueva et al. American Congress of Rehabilitation Medicine. The Effectiveness of a Deep Water Aquatic Exercise Program in Cancer-Related Fatigue in Breast Cancer Survivors: A Randomized Controlled Trial. Archives of Physical Medicine and Rehabilitation 2013;94:221-30
- Cantarero-Villanueva et al. The American Academy of Pain Medicine. Effectiveness of Water Physical Therapy on Pain,Pressure Pain Sensitivity, and Myofascial Trigger Point in Breast Cancer Survivors: A Randomized, Control Clinical Trial. Pain Medicine 2012;13:1509-1519
- Elizabeth Mcdonald , Gove County Medical Center