fbpx

ภาวะต่อมหมวกไตล้า - Arun Health Garden

ภาวะต่อมหมวกไตล้า (Adrenal Fatigue) คืออะไร

ภาวะต่อมหมวกไตล้าไม่ใช่โรค แต่เป็นกลุ่มอาการผิดปกติที่เนื่องมาจากต่อมหมวกไตทำงานลดลง มักเกิดเนื่องจากมีภาวะความเครียดรุนแรง หรือเครียดสะสมต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือเกี่ยวเนื่องกับการติดเชื้อทั้งแบบเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง ผู้ที่มีภาวะความผิดปกตินี้อาจจะไม่แสดงอาการผิดปกติรุนแรง นอกจากเหนื่อย เพลีย หรือมักจะใช้คำอธิบายความผิดปกตินี้ว่า ขาดพลังในการดำเนินชีวิตคนที่เป็นแบบรุนแรงมักจะมีอาการเหนื่อยมากเกินกว่าจะดำเนินชีวิตประจำวันได้ ถ้ามีความผิดปกตินานๆจะมีผลต่อการทำงานของอวัยวะอื่นๆได้เช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบการเผาผลาญอาหาร เป็นต้น

อาการ

ถ้าคุณมีอาการดังต่อไปนี้ คุณอาจจะมีความผิดปกติของต่อมหมวกไตล้า เหนื่อยเพลียแต่หาสาเหตุไม่ได้ตื่นนอนเช้าจะไม่มีแรงที่จะลุกมาทำกิจกรรม แม้จะนอนได้เพียงพอ สุขภาพแย่ลงมาก หลังมีภาวะเครียด หรือเจ็บป่วย รู้สึกอยากรับประทานอาหารหวานๆ หรืออาหารเค็มบ่อยๆ ทั้งนี้ อาการเพลียหมดแรงมักจะมากขึ้นถ้ารับประทานอาหารไม่ตรงเวลาและมักจะรู้สึกตื่นตัว มีพลังในช่วงเย็นไปแล้ว

การวินิจฉัย

การตรวจระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานของต่อมหมวกไตเช่น ฮอร์โมนคอร์ติซอล ฮอร์โมนดีเอชอีเอ ฮอร์โมนเพศจะช่วยบ่งบอกความผิดปกติของต่อมหมวกไตได้นอกจากนี้แพทย์อาจจะหาสาเหตุเพิ่มเติมที่เป็นต้นเหตุของการกระตุ้นที่ทำให้ต่อมหมวกไตล้าได้ เช่น ภาวะการติดเชื้อเรื้อรัง การสะสมของโลหะหนักในร่างกาย หรือการนอนไม่หลับหรือสืบหาสภาวะความเจ็บป่วยแอบแฝงเพิ่มเติมที่อาจจะเป็นสาเหตุ เช่น ภาวการอักเสบหรือภูมิคุ้มกันผิดปกติ มะเร็งเป็นต้น

การรักษาโดยทั่วไป

แพทย์แผนปัจจุบัน ไม่ค่อยให้ความสำคัญของภาวะต่อมหมวกไตล้า ดังนั้นการรักษาจึงมักจะเป็นการรักษาตามอาการ เช่นนอนไม่หลับ ก็ให้ยานอนหลับหรือคลาเครียด

การรักษาทางการแพทย์ผสมผสาน

ภาวะต่อมหมวกไตล้ามี 3 ระดับ คือ ระดับมีความผิดปกติน้อย ปาน กลาง และมาก

     ถ้ามีความผิดปกติมากยิ่งใช้เวลาในการรักษานานผู้ที่มีความผิดปกติจะกลับมาสู่สภาวะปกติและสุขภาพดีได้แต่อาจจะใช้เวลานานโดยทั่วไปใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป การรักษาเริ่มตั้งแต่คำแนะนำเรื่องการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร การออกกำลังกาย การปรับสมดุลของสารต่างๆและฮอร์โมนในร่างกายโดยการให้วิตามิน เกลือแร่ หรือฮอร์โมน รวมถึงการให้ยาคลายเครียดการให้วิตามินทางหลอดเลือดและการทำคีเลชั่น เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบว่า การฝึกปรับสมดุลย์ภายใน (Inner balance training) จะมีส่วนช่วยในการลดความเครียดซึ่งเป็นต้นเหตุของความผิดปกติได้ เมื่อการทำงานของต่อมหมวกไตเริ่มดีขึ้น อาการเหนื่อย เพลีย ขาดพลัง จะค่อยๆลดลง ผู้ป่วยจะค่อยๆเริ่มมีกิจวัตรประจำวันต่างๆและออกกำลังกายได้เพิ่มขึ้น ที่สำคัญคือ ต้องเข้าใจว่าการรักษาปรับให้การทำงานของต่อมหมวกไตกลับสู่สภาวะปกตินั้นต้องใช้เวลานาน และในระหว่างการรักษาอาการเพลีย ไม่มีแรงและอาการผิดปกติอื่นๆ จะยังเป็นๆหายๆได้ ไม่ใช่หายสนิททันที การมุ่งมั่นปฏิบัติตามแนวทางการรักษาที่แพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้กลับสู่สภาวะปกติได้ในที่สุด

หมวดหมู่

คลังเก็บ